จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

AD Corruption Censored.wmv

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะทวารวดี

KonG
View my profile
Previousงานวิจัยเรื่องพัฒนาการด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
พัฒนาการของศิลปะไทย
ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)
ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 12-18)
ศิลปะอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ 18-20)
RecommendFavouritesLinksLatest Commentsพัฒนาการของศิลปะไทย
ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 12-18)
ศิลปะรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา (พ.ศ.2394-ปัจจุบัน)
ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-24)
ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)
ArchivesFeb 2011
Jan 2011
Dec 2010
Nov 2010
Oct 2010
more
Categoriesศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)
posted on 13 Jan 2009 21:49 by nutcoco เป็นของชนชาติมอญละว้า มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐมจังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบ จังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดปราจีนบุรีเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียในสมัยคุปตะศิลปะสมัยหลังคุปตะและศิลปะปาละ-เสนะ ตามลำดับ





ตัวอย่างพระพุทธรูปสมัยทวารวดี






ประติมากรรม

พระพุทธรูป

1.ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือมีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดีอยู่ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมีจีวรเรียบเหมือนจีวรเปียก ถ้าเป็นพระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดีมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12

ตัวอย่างประติมากรรมสมัยทวารวดี


2. พัฒนาขึ้นจากแบบแรก โดยมีอิทธิพลพื้นเมืองผสมมากขึ้นพระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลา เป็นต่อมนูนใหญ่บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระเนตรโปน พระหนุ (คาง ) ป้าน พระนลาฏ

(หน้าผาก)แคบพระนาสิกป้านใหญ่แบน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆแบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15




เศียรพระพุทธรูปสมัยทวารวดี





3.พระพุทธรูปในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร เนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนครประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปกรรมแบบทวารวดี ในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมร แบบบาปวนหรืออิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปนเช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม นั่งขัดสมาธิราบ เป็นต้นนอกจากพระพุทธรูปแล้วยังพบสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าซึ่งแสดงการสืบทอดแนวคิดทางศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้าที่จะทำรูปเคารพเป็นรูปมนุษย์ภายใต้อิทธิพลศิลปะกรีก




ประติมากรรมกลุ่มเทวรูปรุ่นเก่า

เป็นประติมากรรมศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูอยู่ร่วมสมัยกับทวารวดีตอนต้น และตอนปลาย ที่เมืองศรีมโหสถและเมืองศรีเทพและพบอยู่ร่วมกับศรีวิชัยและทวารวดีที่ภาคใต้ของประเทศไทยมักจะทำเป็นรูปพระนารายณ์ ลักษณะพระพักตร์จะไม่เหมือนพระพุทธรูปแบบทวารวดีเลยจะมีลักษณะคล้ายกับอินเดีย ตัวอย่างเช่นพระนารายณ์ที่ไชยาแสดงลักษณะอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบมทุรา และอมราวดี(พุทธศตวรรษที่6-9) รวมทั้งที่พบที่นครศรีธรรมราช ซึ่งถือสังข์ ด้วยพระหัตถ์ซ้ายด้านล่างผ้านุ่งและผ้าคาดที่พบที่ภาคใต้และที่เมืองศรีมโหสถจะมีผ้าคาดเฉียงเหมือนศิลปะอินเดียหลังคุปตะ (ปัลลวะ) ในราวพุทธศตวรรษที่ 12ส่วนเทวรูปรุ่นเก่าที่ศรีเทพจะมีอายุใกล้เคียงกันและที่ศรีเทพนอกเหนือจากที่จะพบรูปพระนารายณ์แล้วยังพบรูปพระกฤษณะและพระนารายณ์ด้วยลักษณะของเทวรูปกลุ่มนี้ไม่เหมือนกับที่พบในเขมรเนื่องจากกล้าที่จะทำลอยตัวอย่างแท้จริงไม่ทำแผ่นหินมารับกับพระหัตถ์คู่บนแต่ยังไม่มีการนำเอากลุ่มเทวรูปนี้เข้าไปไว้ในศิลปะทวารวดีจึงเพียงมีแต่สมมุติฐานว่าเทวรูปกลุ่มนี้น่าจะเป็นทวารวดีที่เป็นพราหมณ์การเข้ามาของเทวรูปนี่มีข้อคิดเห็นแตกไปเป็น 2 ทางคือ เป็นศิลปะอินเดียที่นำเข้าที่พร้อมกับการติดต่อค้าขาย หรือเป็นศิลปะแบบอินเดียที่ทำขึ้นในท้องถิ่นและมีการพัฒนาการภายใต้อิทธิพลศิลปะพื้นเมืองแบบทวารวดีและศรีวิชัย





สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่นวัดพระเมรุและเจดีย์จุลปะโทน จังหวัดนครปฐม บางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง เช่นก่อสร้างบริเวณฐานสถูปการก่อสร้างเจดีย์ในสมัยทวารวดีที่พบทั้งเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังคว่ำมียอดแหลมอยู่ด้านบน

ผลงานทางศิลปะที่สำคัญ เช่น

ภาพปูนปั้นสตรีเล่นดนตรี พบที่คูบัว อำเภอเมืองฯจังหวัดราชบุรี


ภาพปูนปั้นสตรีเล่นดนตรี เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม




ธรรมจักรหินขนาดใหญ่ พบที่จังหวัดนครปฐม



ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย หลังจากความเสื่อมของศิลปะทวารวดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 แล้วศิลปะลพบุรีซึ่งได้อิทธิพลจากศิลปะเขมรก็ได้เจริญขึ้นมาแทนที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น