จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

AD Corruption Censored.wmv

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีการลดโลกร้อน

การลดภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันทำ เราทุกคนก็ต่างมีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะเพียงแค่เราหายใจอยู่เฉยๆก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาแล้ว ยังไม่รวมถึงกิจกรรมต่างๆมากมายที่เราทำอยู่ทุกๆวัน ถึงเวลาที่เราต้องเลิกคิดว่าภาวะโลกร้อนไม่ใช่ธุระของเรา แล้วหันมาร่วมมือกัน..มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อนกันเถอะ

ถ้าท่านคิดว่าการลดภาวะโลกร้อนนั้นมันทำได้ยาก หรือคิดว่าท่านคนเดียวช่วยโลกไม่ได้ หรือว่าจะทำตอนนี้มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นแล้ว ท่านกำลังคิดผิด!! ทุกอย่างที่เราทำจะส่งผลดีต่อโลก และมันยังมีเวลาอยู่ ถ้าไม่เริ่มที่ตัวเราก่อนก็ไม่รู้จะให้ไปเริ่มจากตรงไหน แค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของเราทำอยู่ในวันๆหนึ่ง ก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว ผมจะยกตัวอย่างให้ดูซัก 10 ข้อ ผมเชื่อว่ามันใกล้ตัวทุกท่านมาก และสามารถลงมือทำได้เลยด้วยซ้ำ

1. ปรับ Desktop Wallpaper ของท่านให้เป็นสำเข้ม ยิ่งเป็นสีดำเลยยิ่งดี เพราะว่ามันจะประหยัดไฟมากกว่า รวมไปถึง Screen Saver ก็ให้ตั้ง Blank ไว้ มันจะเป็นหน้าจอดำสนิท ปิดคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน เช่น ตอนพักเที่ยง และตอนกลับบ้าน

2. พกผ้าเช็ดหน้า แทนที่จะใช้กระดาษทิชชู สมัยนี้มีกระดาษทิชชูห่อสวยๆพกง่ายๆออกมา หลายคนใช้มันแทนผ้าเช็ดหน้า เพราะว่ามันสะดวกและห่อมันก็น่ารักด้วย แต่กระดาษทิชชูผลิตมาจากต้นไม้ ยิ่งใช้มากก็ยิ่งต้องตัดมาก ถ้าไม่จำเป็นก็ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าดีกว่าครับ เก็บต้นไม้ไว้เป็นปอดให้กับโลกเราบ้างเถอะนะ

3. การชาร์ตแบตมือถือ การชาร์ตแบตมือถือของคนทั่วๆไปเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 95% เพราะว่ามักจะเสียบสายค้างไว้ทั้งๆที่แบตเต็มแล้ว ท่านรู้ไหมว่าถึงแบตจะเต็มแล้วแต่ว่าถ้าไม่ถอดออกมันก็จะยังกินไฟอยู่ ฉะนั้นเวลาแบตเต็มแล้วก็ให้ถอดสายออก แต่ถ้ายังเสียบหม้อแปลงกับเต้าเสียบค้างไว้มันก็ยังกินไฟอยู่ดี เพราะฉะนั้นก็ให้ถอดออกให้หมด

4. ประหยัดน้ำ อย่าใช้น้ำแบบสิ้นเปลือง ถ้ามีโอกาสได้เปลี่ยนก๊อกที่บ้าน ก็ให้ใช้ก๊อกน้ำแบบเพิ่มฟองอากาศ น้ำที่ไหลออกมาจะมีฟองอากาศออกมาด้วยทำให้ดูเหมือนมีน้ำเยอะ แต่จะประหยัดกว่าก๊อกธรรมดาถึงครึ่งหนึ่ง ถ้านึกไม่ออกให้ดูห้องน้ำตามห้าง น้ำที่ไหลออกมาจะเป็นแบบนั้น และเวลาใช้น้ำที่อื่นที่ไม่ใช่บ้านเราก็ควรจะประหยัดด้วย ไม่ใช่คิดว่าของฟรี หรือเวลาไปพักตามโรงแรมก็อย่าคิดว่าใช้ให้คุ้ม เพราะว่าทำแบบนี้แหละโลกถึงร้อน

5. ประหยัดไฟ ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้และถอดปลั๊กด้วย รวมไปถึงหลอดไฟด้วย ถ้ามีโอกาสก็เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟ CFL ซะ ที่มันเป็นเกลียวๆ ถึงหลอดพวกนี้จะแพงกว่า แต่ก็ประหยัดไฟกว่ามาก แถมอายุการใช้งานก็ยาวกว่าเยอะ ซึ่งในระยะยาวก็จะคุ้มกว่าแน่นอน

6. ลดใช้ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกทำให้เราสะดวกขึ้นก็จริง แต่มันเป็นภัยต่อโลกอย่างมากมาย กว่าถุงที่เราใช้จะย่อยสลายไป ตัวเรานั้นย่อยสลายก่อนมันไปนานแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ แต่ถ้าต้องใช้จริงๆก็ให้เก็บไว้เพื่อนำไปใช้ครั้งต่อไปได้อีก เวลาจ่ายตลาดก็ให้ใช้ถุงผ้าแทน ถุงผ้าสวยๆก็มีออกมาขายกันเยอะแยะ

7. ลดอาหารแช่แข็ง อาหารแช่แข็งตอนนี้กำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ และก็เห็นมีคนนิยมบริโภคมากขึ้นเหมือนกัน แต่ท่านรู้ไหมว่าขั้นตอนการผลิตนั้นทำให้สิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก เพราะว่ากล่องที่ใส่ก็เป็นพลาสติก ขั้นตอนในการขนส่งก็ต้องเก็บไว้ในที่เย็นตลอดเวลา รวมไปถึงตอนที่อยู่ในร้านด้วย แม้กระทั่งตอนจะกินยังต้องใช้พลังงานในการอุ่นอีก เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นก็อย่ากินเลยครับ มันสิ้นเปลืองพลังงาน กินของสดอร่อยกว่าอีก

8. ใช้จักรยาน เวลาที่ท่านไปทำธุระใกล้ๆบ้าน อาจจะไปซื้อของ จ่ายตลาด นอกจากจะประหยัดน้ำมันในยุคที่น้ำมันแพงแล้ว ยังช่วยให้ท่านได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ไม่ต้องไปเสียเงินเข้าฟิตเนสแพงๆ

9. ลดการ Shopping หลายคนนั้นการ Shopping เป็นอะไรที่มีความสุขเหลือเกิน แต่ก็ขอให้ลดการซื้อแบบสิ้นเปลืองลงบ้าง บางทีก็ซื้อๆไปอย่างนั้นแหละ แต่ก็ได้ใส่แค่ครั้งสองครั้ง บางชิ้นอาจไม่ได้ใส่ด้วยซ้ำ แต่อยากซื้อ..อะไรที่คิดว่าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องซื้อหรอกครับ เอาแค่อันที่เราจะใส่จริงๆ เพราะว่ามันต้องใช้พลังงานมากมายในอุตสาหกรรมพวกนี้

10. ปลูกต้นไม้ ผมว่ามนุษย์ทุกคนชอบธรรมชาติ เวลาที่เราได้เห็นสถานที่ที่มีธรรมชาติงดงาม ไม่ว่าจะเป็นป่าไม่ที่เขียวชอุ่ม น้ำใสๆ ชายหาดที่ขาวสะอาด เราจะรู้สึกสบายใจและชอบมัน แต่ว่าพวกเราก็ไม่ได้ช่วยกันรักษามัน เพราะฉะนั้นถ้ามีเวลาก็ให้ช่วยกันปลูกต้นไม้ อาจจะเป็นที่สวนหน้าบ้านได้ หรือมีเนื้อที่ตรงไหนก็ปลูกตรงนั้น ใส่กระถางไว้ก็ได้ นอกจากจะทำให้บ้านดูสวยขึ้นแล้ว ยังจะช่วยลดก๊าซพิษในอากาศได้อีกด้วย

ผมเชื่อว่า 10 วิธีที่ผมยกตัวอย่างมานี้ ต้องมีมากกว่าหนึ่งข้อที่คุณสามารถทำได้ คุณไม่จำเป็นต้องทำทุกข้อ แต่ยิ่งทำมากก็ยิ่งดี แค่นี้คุณก็จะได้มีส่วนในการช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ส่วนจะทำมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน และสุดท้ายนี้อยากบอกทุกคนว่าในโลกนี้ไม่มีความสำเร็จไหนที่ยิ่งใหญ่จริงๆ มีแต่ความสำเร็จเล็กๆที่รวมกันขึ้นมา จนสามารถกลายเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ เพราะฉะนั้นอย่านึกว่าสิ่งเล็กๆเหล่านี้ที่เราทำมันไม่มีความหมายนะครับ

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

จริยธรรมและความปลอดภัย

จริยธรรมและความปลอดภัย
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม
คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ”
“มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)
R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ

การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)

ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน
การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)

การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)

การควบคุมอินพุท
การควบคุมการประมวลผล
การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)
การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)

การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
แผนการป้องกันการเสียหาย
ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)

ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
การแปลงรหัส (Encryption)
กำแพงไฟ (Fire Walls)
การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม

3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

- ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก

- ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

- ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

การพัฒนาระบบประกอบด้วย

1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ

- การปรับปรุงคุณภาพ

- การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน

- การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี

- การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว

2) บุคลากร (People)

3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ

4) เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด

5) งบประมาณ (Budget)

6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)

7) การบริหารโครงการ (Project Management)



ทีมงานพัฒนาระบบ

การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล

1) คณะกรรมการ (Steering Committee)

2) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)

3) ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)

4) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ

- ทักษะด้านเทคนิค

- ทักษะด้านการวิเคราะห์

- ทักษะดานการบริหารจัดการ

- ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร

5) ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค

- ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)

- โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

6) ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager)

บุคคลสำคัญ

บทนำ

จากการเรียนวิชาสังคมศึกษา มีเรื่องราวต่างๆ
ของไทยที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของ
บุคคลสำคัญของไทย นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึง
ปัจจุบัน พวกท่านเหล่านี้ล้วนแต่ได้ทำคุณประโยชน์
ในด้านต่างๆ ให้กับ ไทยมากมาย ซึ่งเรื่องราวของ
แต่ละท่านล้วนทรงคุณค่าควรแก่การยกย่อง
และประวัติของท่านแต่ละท่านล้วนให้ความรู้
แตกต่างกันในแต่ละด้าน เช่น ด้านการปกครอง
ด้านการทหาร ด้านการต่างประเทศ เป็นต้น
ดังนั้นจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการศึกษา
รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้ เพื่อสืบทอด เรียนรู้ถึงประวัติ
และผลงานต่างๆ ของบุคคลสำคัญของไทย
ให้เป็นระบบ และมีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
และง่ายต่อการศึกษาอีกด้วย
นอกจากนี้ต้องขอขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล
อาจารย์ประจำวิชาสังคมศึกษา (ส43105)
ที่เป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุน พวกเราเป็นอย่างดีค่ะ
หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
คณะผู้จัดทำ
ม.6.11 โรงเรียนสตรีวิทยา


อาจารย์ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม

ประวัติการพัฒนาภาษาปาสคาล

ประมาณปี พ.ศ. 2514 ดร.นิคลอล เวียร์ต (Professor Doctor Nicklaus Wirth) ชาวเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาภาษาหนึ่ง ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักในการพัฒนาภาษานี้ คือ ให้เป็นภาษาสำหรับฝึกเขียนโปแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างมีระบบและมีระเบียบ และได้กำหนดให้ภาษาใหม่นี้มีชื่อว่า ภาษาปาสคาล (Pascal Language) เพื่อเป็นเกียรติแก่ Blaise Pascal นักคณิตศาสตร์และปรัชญาแมธีชาวฝรั่งเศสผู้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกของโลก


ภาษาปาสคาลมีต้นแบบมาจากภาษา ALGOL (Algorithmic Language) และตัวภาษาปาสคาลเองก็ได้ถูกพัฒนาต่อไปเป็นภาษาที่รู้จักกันในชื่อต่าง ๆ เช่น ภาษา MODULA2 ภาษา Ada ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับความนิยมในอนาคต แต่เป็นภาษาใหม่ที่มีโครงสร้างซับซ้อน


การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลต้องเขียนโปรแกรมแบบมีโครงสร้างและมีระเบียบ แบบแผน เป็นภาษาที่ไม่มีหมายเลขบรรทัดแต่ทำงานตามลำดับโครงสร้างของโปรแกรม ดังนั้นภาษาปาสคาลเหมาะกับการศึกษาภาษาที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดย ตรงและวิธีการเขียนโปรแกรมที่ถูกต้องเพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาชั้น สูงอื่น ๆ และ ภาษาเครื่อง รวมทั้งซอฟต์แวร์กึ่งสำเร็จรูป ต่อไปได้

สัญลักษณ์เบื้องต้น (Basic Symbol)

สัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษาปาสคาลแบ่งออกได้เป็น 3 พวก ได้แก่

1. letter ได้แก่ A-Z , a-z และ มีขีดล่าง (_ อ่านว่า Underscore)

2. digit ได้แก่ 0-9 3 . Special symbol สัญลักษณ์พิเศษได้แก่ + - * / = ^ () [] {}. , : ; ' # $


หมายเหตุ ไม่มีความแตกต่างระหว่างอักษรพิมพ์ใหญ่และอักษรพิมพ์เล็ก

คำอธิบาย

โดยหลักการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลแล้วจะต้องเขียนโปรแกรมให้ถูกต้องตามรูปแบบของคำสั่งภาษาซึ่งจะมีความหมายในตัวเองแล้ว แต่บางครั้งถ้าต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อสร้างความเข้าใจสามารถเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมไว้ได้ในเครื่องหมาย { } ซึ่งสิ่งที่อยู่ในเครื่องหมาย { } ภาษาปาสคาลจะไม่ทำการคอมไพ

การเขียนคำอธิบายอาจจะเขียนอยู่ในโปรแกรม คือ ตั่งแต่คำว่า PROGRAM จนถึงคำว่า END. หรือจะอยู่นอกโปรแกรมก็ได้ เช่น

ตัวอย่าง 1.3.1 การเขียนคำอธิบายในโปรแกรม

Program Show Name;


Uses Crt;


Ch : Char;


Begin

{โปรแกรมแนะนำตนเอง}


Clrscr;

Writeln(‘อรทัย ชัยรัตนศักดิ์’);

Writeln(‘โปรแกรมวิทยาการคอมพิวเตอร์ ’);

Writeln(‘สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม’);


Ch := read key;

End.

ตัวอย่าง 1.3.2 การเขียนคำอธิบายนอกโปรแกรม

{โปรแกรมแนะนำตนเอง}

Program Show Name;


Uses Crt;


Ch : Char;

Begin

Closure;


Written(‘อรทัย ชัยรัตนศักดิ์’);


Written(‘โปรแกรมวิทยาการคอมพิวเตอร์ ’);

Written(‘สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม’);

Ch := read key;

End.


ชื่อ (Identifier)

5สคืออะไร

5ส คือ อะไร

5ส คือ การปรับปรุงสภาพพื้นฐานในการปฏิบัติงานประจำวันเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพ และคุณภาพของงาน 5ส นั้นเป็นการนำอักษรตัวหน้าของคำภาษาอังกฤษที่เขียนตามการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นมาใช้เพื่อให้สามารถจดจำได้ง่ายจึงกลายมาเป็นคำว่า 5ส ตามลำดับดังนี้
S1 : SEIRI : สะสาง : ส1 (Clearing Up)
S2 : SEITON : สะดวก : ส2 (Organizing)
S3 : SEISO : สะอาด : ส3 (Cleaning)
S4 : SEIKETSU : สร้างมาตรฐาน : ส4 (Standardizing)
S5 : SHITSUKE : สร้างนิสัย : ส5 (Training & Discipline)

วัตถุประสงค์ของ 5ส

5ส เป็นปัจจัยพื้นฐานในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นเครื่องมือตัวแรกที่ถูกนำมาใช้ก่อนที่จะใช้เครื่องมือระดับสูงขึ้นไป เช่นTPM TQM และ ISO เป็นต้น โดยกำหนดให้ ส1, ส2, ส3 เป็นการจัดการในเรื่องของวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ และสถานที่ ส่วน ส4 และ ส5 เป็นการจัดการเรื่องของคน โดยมีเป้าหมายให้สถานที่ทำงานสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ลดความสูญเปล่าในการทำงาน สินค้ามีคุณภาพ เป็นที่ประทับใจของลูกค้าตลอดไป
3ส แรกส่งผลแก่สถานที่ทำงาน อุปกรณ์, 2ส หลังส่งผลแก่คนที่ทำ 3 ส แรกอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบของ 5ส

กิจกรรม 5ส นั้น ส.ทุกตัวจะถูกำหนดคำนิยามไว้เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องดังนี้
ส1 : สะสาง คือการแยกของที่จำเป็นออกจากของที่ไม่จำเป็น และขจัดของที่ไม่จำเป็นออกไปโดยกำหนดขั้นตอน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
(1) สำรวจ
(2) แยก
(3) ขจัด

ส2 : สะดวก คือ การจัดวางหรือจัดเก็บสิ่งของต่าง ๆ ในสถานที่ทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวก ปลอดภัย และคงไว้ซึ่งคุณภาพ ประสิทธิภาพในการทำงาน โดยกำหนดขั้นตอนไว้ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย
(1) กำหนดของที่จำเป็น
(2) แบ่งหมวดหมู่
(3) จัดเก็บให้เป็นระบบระเบียบ
(4) บ่อยอยู่ใกล้ นานๆ ใช้อยู่ไกล

ส3 : สะอาด คือการทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ สถานที่และใช้เป็นการตรวจสอบและบำรุงรักษาไปด้วย โดยกำหนดขั้นตอนไว้ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย
(1) กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ
(2) ขจัดต้นเหตุของความสกปรก
(3) ทำความสะอาดแม้แต่จุดเล็ก ๆ
(4) ปัด กวาด เช็ด ถู พื้นให้สะอาด

ส4 : สร้างมาตรฐาน คือ การรักษามาตรฐานของความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้คงอยู่ตลอดไป
(1) ไม่มีสิ่งของไม่จำเป็นอยู่ในพื้นที่
(2) ไม่มีสภาพรกรุงรัง
(3) ไม่มีสิ่งสกปรกตกค้าง

ส5 : สร้างนิสัย คือ การสร้างนิสัยในการมีจิตสำนึก ทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานตามระเบียบและข้ออังคับอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการอบรมให้พนักงานรู้จักค้นคว้า และปรับปรุงสถานที่ทำงาน

การปลูกกล้วยไม้

วิธีการปลูกเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสม กล้วยไม้ก็ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด เลือกภาชนะปลูกและเครื่องปลูก รวมทั้งวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ

ภาชนะปลูก ภาชนะที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้มีส่วนสำคัญต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้ ดังนั้นจึงควรจัดภาชนะปลูกให้เหมาะกับการเจริญของรากกล้วยไม้แต่ละประเภท ภาชนะสำหรับปลูกกล้วยไม้มีหลายชนิด ดังนี้
กระถางดินเผาทรงเตี้ย เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 4-6 นิ้ว สูง 2-4 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถาง เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ มะพร้าวสับ วางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระถาง
กระถางดินเผาทรงสูง เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 3-4 นิ้ว สูง 4-5 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถางแต่รูน้อยกว่ากระถางทรงเตี้ย เหมาะกับกล้วยไม้ที่ต้องการเครื่องปลูกหรือกล้วยไม้รากกึ่งอากาศ เช่น คัทลียา หวาย โดยปลูกด้วยกาบมะพร้าวอัดเรียงตามแนวตั้งจนแน่น ยึดรากและโคนกล้วยไม้ตรงกลางกระถางให้แน่น
กระเช้าไม้สัก ทำจากไม้สักหรือไม้ชนิดอื่น นิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีขนาดตั้งแต่ขนาด 4x4 นิ้ว ถึง 10x10 นิ้ว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ มีต้นใหญ่ รากใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกด้วยกระเช้าไม้สักภายในไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ 2-3 ก้อนวางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระเช้า
กระเช้าพลาสติก เป็นกระเช้าที่ทำจากพลาสติกสีดำ ราคาถูก มีหลายแบบ หลายขนาด แต่ที่นิยมใช้มี 2 ขนาด คือ ขนาดทรงเตี้ยใช้ปลูกกล้วยไม้แวนด้า และ ขนาดทรงสูงใช้ปลูกกล้วยไม้หวาย ลักษณะการปลูกเช่นเดียวกับกระถางดินเผาทรงเตี้ยและกระถางดินเผาทรงสูง
กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง เป็นกระถางดินเผาชนิดเดียวกับที่ใช้ปลูกต้นไม้ทั่วไป มีรูระบายน้ำอยู่ที่ก้นกระถางเพียงรูเดียว ทั้งแบบทรงสูงทั่วไปและแบบทรงเตี้ย มีขนาดตั้งแต่ 4-10 นิ้ว นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งดิน เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลเอื้องพร้าว สกุลคูลู และสกุลสเปโธกล๊อตติส
ท่อนไม้ที่มีเปลือก โดยผูกกล้วยไม้ติดกับท่อนไม้ที่มีเปลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต ปลายหนึ่งของท่อนไม้ยึดติดกับลวดใว้สำหรับแขวนกับราว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลแวนด้า
ต้นไม้ใหญ่ โดยการปลูกยึดติดกับต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศและรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลหวาย สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากอากาศสามารถใช้ลวดหรือเชือกผูกติดกับต้นไม้ได้เลย แต่สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากกิ่งอากาศให้หุ้มด้วยกาบกะพร้าวทับอีกชั้นหนึ่ง ยึดกาบมะพร้าวด้วยตาข่ายหรือซาแลนอีกชั้นหนึ่ง


เครื่องปลูก วัสดุที่ใส่ลงไปในภาชนะที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ เป็นที่เก็บอาหาร เก็บความชื้น หรือปุ๋ยของกล้วยไม้ และเพื่อให้รากของกล้วยไม้เกาะ ลำต้นจะได้ตั้งอยู่ได้ เครื่องปลูกที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของรากกล้วยไม้จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง เครื่องปลูกที่นิยมใช้มีดังนี้
ออสมันด้า เป็นเครื่องปลูกที่ได้มาจากรากของเฟิร์น ลักษณะเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลจนเกือบดำ ค่อนข้างแข็ง ก่อนที่จะใช้ต้องล้างให้สะอาด แล้วจึงอัดตามยาวลงไปในกระถาง ก่อนที่จะอัดลงในกระถางควรรองก้นกระถางด้วยกระเบื้องแตกหรือถ่านประมาณครึ่งหนึ่งของกระถาง เพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวกไม่ควรอัดออสมันด้าให้เต็มกระถาง ก่อนใช้ควรแช่น้ำหรือต้มเพื่อฆ่าเชื้อราเสียก่อน ออสมันด้าเป็นเครื่องปลูกที่ดี แต่ราคาค่อนข้างสูง สามารถเลี้ยงกล้วยไม้ได้เจริญงอกงามสม่ำเสมอ มีอายุการใช้งาน 2-3 ปี แต่มีข้อเสีย คือ มีตะไคร่น้ำขึ้นหน้าเครื่องปลูก และเกิดเชื้อราง่าย ออสมันด้าใช้ปลูกกล้วยไม้แบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา
กาบมะพร้าว เป็นเครื่องปลูกที่นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้มาก เพราะหาง่าย ราคาถูก เหมาะที่จะใช้อัดลงในกระถางดินเผาสำหรับใช้ปลูกกล้วยไม้รากกึ่งอากาศเช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา วิธีทำคือใช้กาบมะพร้าวแห้งที่แก่จัดและมีเปลือก อัดตามยาวให้แน่นลงในกระถาง ตัดหน้าให้เรียบ แล้วใช้แปรงลวดปัดหน้าให้เป็นขน เพื่อให้ดูดซับน้ำดีขึ้น เครื่องปลูกกาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกที่ได้ความชื้นสูง เหมาะสำหรับกล้วยไม้ปลูกใหม่ เพราะจะทำให้ตั้งตัวเร็ว จึงทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามเร็วกว่าปลูกด้วยเครื่องปลูกชนิดอื่นๆ แต่มีข้อเสียคือมีอายุการใช้งานได้ไม่นาน คือมีอายุใช้งานได้เพียงปีเดียวเครื่องปลูกก็ผุ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือเกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย เนื่องจากกาบมะพร้าวอมความชื้นไว้ได้มาก จึงควรรดน้ำให้น้อยกว่าเครื่องปลูกชนิดอื่น
ถ่าน เป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง เพราะหาง่าย ราคาไม่แพง คงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยผุพังง่ายและดูดอมน้ำได้ดีพอเหมาะไม่ชื้นแฉะเกินไป ยังช่วยดูดกลิ่นที่เน่าเสียและทำให้อากาศบริสุทธ์อีกด้วย แต่มีข้อเสียคือมักจะมีเชื้อราอยู่ ในการใช้ถ่านเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลแคทลียา ควรใช้ถ่านป่นซึ่งเป็นก้อนเล็กๆ ผสมกับอิฐ หรือใช้อิฐหักรองก้นกระถางประมาณครึ่งกระถาง แล้วใช้ถ่านป่นใส่ทับข้างบนจนเต็มหรือเกือบเต็มกระถาง จากนั้นจึงเอากล้วยไม้ปลูกโดยวางทับไว้บนถ่านอีกชั้นหนึ่ง สำหรับถ่านที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ ถ้าเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กหรือยังเป็นลูกกล้วยไม้อยู่ เช่น มีขนาดสูงไม่เกิน 3 นิ้ว ควรใส่ถ่านก้อนเล็กๆ หรือใส่ถ่านป่นไว้บ้างพอสมควร แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดโดแล้วควรใส่ก้อนใหญ่ๆ ไว้ประมาณ 5-10 ก้อน เพื่อช่วยอุ้มความชุ่มชื้นไว้ให้กล้วยไม้ การที่ใส่ถ่านก้อนโตๆ จำนวนเล็กน้อยในการปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศก็เพื่อต้องการให้บริเวณภายในกระถางมีช่องว่างมากๆ และโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งเหมาะแก่ความต้องการหรือความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศ
ทรายหยาบและหินเกล็ด การปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศโดยเฉพาะพวกสกุลหวาย มักใช้ทรายหยาบและหินเกล็ดที่ล้างสะอาดแล้วเป็นเครื่องปลูก โดยก้นกระถางใส่อิฐหักหรือหรือถ่านป่นไว้ ส่วนด้านบนใช้ทรายหยาบโรยหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยทับด้วยหินเกล็ดหนาประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นจึงนำหน่อกล้วยไม้ที่แยกจากกอเดิมไปปลูกวางไว้บนหินเกล็ด แล้วมัดติดกับหลักเพื่อยึดไม่ให้ล้มจนกว่ากล้วยไม้ที่ปลูกใหม่นี้มีรากยึดเครื่องปลูกและตั้งตัวได้
อิฐหักและกระถางดินเผาแตก อิฐหัก อิฐดินเผา และกระถางดินเผาแตก ใช้เป็นเครื่องปลูกรองก้นกระถางสำหรับปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ โดยมีออสมันด้า กาบมะพร้าว ถ่านป่น อย่างใดอย่างหนึ่งอัดหรือโรยไว้ข้างบน เพื่อให้ด้านล่างของกระถางหรือภาชนะปลูกโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวกและเป็นการช่วยในการระบายน้ำในกระถางได้ดีขึ้น


วิธีการปลูก
การล้างลูกกล้วยไม้ คือการล้างลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อออกจากขวดเพาะแล้วล้างให้หมดเศษวุ้นอาหาร นำจุ่มลงในน้ำยานาตริฟินในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถางนิ้ว
การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก ลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กให้ปลูกในกระถางหมู่หรือกระถางดินเผาทรงสูงขนาด 4-6 นิ้ว รองก้นกระถางด้วยถ่านขนาดประมาณ 1 นิ้ว สูงจนเกือบถึงขอบล่างของกระถาง แล้วโรยทับด้วยออสมันด้าหนาประมาณ 1 นิ้ว ให้ระดับออสมันด้าต่ำกว่าขอบกระถางประมาณครึ่งนิ้ว ใช้มือข้างหนึ่งจับไม้กลมๆ เจาะผิวหน้าออสมันด้าในกระถางให้เป็นรูลึกและกว้างพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับปากคีบ คีบลูกกล้วยเบาๆ เอารากหย่อนลงไปในรูที่เจาะไว้ ให้ยอดตั้งตรง แล้วกลบออสมันด้าลงไปในรูให้ทับรากจนเรียบร้อย ควรจัดระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี กระถางหมู่ขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ปลูกลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40-50 ต้น
การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่ ลูกกล้วยไม้ที่ต้นใหญ่ให้ปลูกในกระถางขนาด 1 นิ้ว ใช้ไม้แข็งๆ ค่อยๆ แคะออสมันด้าในกระถางตามแนวตั้งออกมาใช้นิ้วมือรัดเส้นออสมันด้าให้คงเป็นรูปตามเดิม ค่อยๆ แบะออสมันด้าให้แผ่บนฝ่ามือ หยิบลูกกล้วยไม้มาวางทับ ให้โคนต้นอยู่ในระดับผิวหน้าตัดของออสมันด้าพอดี หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วรวบออสมันด้าเข้าด้วยกัน นำกลับไปใส่กระถางตามเดิม เสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในเรือนเลี้ยงลูกกล้วยไม้ สำหรับลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กที่อยู่ในกระถางหมู่มาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป มีลำต้นใหญ่แข็งแรงพอสมควรแล้วควรย้ายไปปลูกลงในกระถางนิ้ว โดยนำกระถางหมู่ไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที ค่อยๆ แกะรากที่จับกระถางและเครื่องปลูกออก แยกเป็นต้นๆ นำไปปลูกลงในกระถางนิ้วเช่นเดียวกัน
การปลูกลงในกระเช้า เมื่อลูกกล้วยไม้ในกระถางนิ้วมีรากเจริญแข็งแรงดี มีใบยาวประมาณข้างละ 2 นิ้ว ซึ่งจะใช้เวลาในการปลูกประมาณ 6-7 เดือน ก็นำไปลงปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 3-5 นิ้ว ด้วยการนำกระถางนิ้วไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้แกะออกจากกระถางได้ง่าย ใช้นิ้วดันที่รูก้นกระถาง ทั้งต้นและออสมันด้าจะหลุดออกมา มือข้างหนึ่งจับออสมันด้าและลูกกล้วยไม้วางลงตรงกลางกระเช้าที่เตรียมไว้ มืออีกข้างหนึ่งหยิบก้อนถ่านไม้ขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในช่องระหว่างออสมันด้ากับผนังของกระเช้าให้พยุงลำต้นได้ นำไปแขวนไว้ในเรือนกล้วยไม้


การย้ายภาชนะปลูก เมื่อลูกกล้วยไม้มีใบยาว 4-5 นิ้ว ควรจะย้ายไปปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 8-10 นิ้ว โดยสวมกระเช้าเดิมลงไปในกระเช้าใหม่เพื่อมิให้รากกระทบกระเทือน ใช้ก้อนถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ วางเกยกันโปร่งๆ หรือจะไม่ใช้เลยก็ได้ เนื่องจากกล้วยไม้ไม่ต้องการเครื่องปลูกที่แน่นและชื้นแฉะเป็นเวลานานๆ ถ้าไม่ต้องการสวมกระเช้าเดิมลงไปก็นำกระเช้าเดิมไปแช่น้ำก่อน เพื่อให้แกะรากที่จับติดกระเช้าออกได้ง่าย นำต้นที่แกะออกแล้ววางตรงกลางกระเช้า ให้ยอดตั้งตรง มัดรากบางรากให้ติดกับซี่พื้นด้านข้างของกระเช้า


การตกแต่งกล้วยไม้ต้นใหญ่ก่อนปลูก สำหรับกล้วยไม้ลำต้นใหญ่ที่ได้มาจากที่อื่นหรือจากการแยกหน่อ จะต้องตัดรากและใบที่เน่าหรือเป็นแผลใหญ่ๆ ทิ้งเสียก่อน รากบางส่วนที่ยังดีแต่ยาวเกินไป อาจตัดให้สั้นจนเกือบถึงโคนต้น แล้วทาแผลที่ตัดทุกแผลด้วยปูนแดงหรือยาป้องกันโรค เช่น ออร์โธไซด์ 50 ผสมน้ำให้เละมากๆ นำต้นกล้วยไม้ลงปลูกในกระเช้าไม้ซึ่งมีขนาดเหมาะสมกับลำต้น

ระบบเลขฐานและตรรก์ศาสตร์

ระบบเลขฐาน

เลขฐาน หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนหลัก (Digit) ตามชื่อของฐาน
นั้นๆเช่น เลขฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบ ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขจำนวนสองหลัก (0-1) แปดหลัก (0-7) และสิบหลัก (0-9) ตามลำดับ ดังรูปในตารางที่ 1
ในระบบคอมพิวเตอร์มีการใช้ระบบเลขฐาน 4 แบบ ประกอบด้วย
1).เลขฐานสอง (Binary Number)
2).เลขฐานแปด (Octal Number)
3).เลขฐานสิบ (Decimal Number)
4).เลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number)

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนตัวเลข ของเลขฐานต่างๆ



1).เลขฐานสอง

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก ( 0 และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่น จะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่น เลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียง 2 สถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า Binary Digit (BIT)

2).เลขฐานแปด

เลขฐานแปด มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 3 หลัก แทนด้วยเลข
ฐานแปด 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 6 บิท แทนด้วยเลขฐานแปด 2 บิท การใช้เลขฐานแปดแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง

3).เลขฐานสิบ

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสิบหลัก (0,1,2,…,9) เป็นเลขฐานที่มนุษย์คุ้นเคยและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ตัวเลขที่มีจำนวนมากกว่า 9 ให้ใช้ 10 ซึ่งเป็นการกลับไปใช้เลข 1 และ 0 อีก เพียงแต่ค่าของ 1 เปลี่ยนไปเป็น 10 เท่าของตัวมันเอง เช่น 333 (สามร้อยสามสิบสาม) แม้จะใช้ตัวเลข 3 ทั้งหมด แต่ตำแหน่งของตัวเลขย่อมมีความหมายตามตำแหน่งของแต่ละหลักนั้น กล่าวคือ หลักหน่วยน้อยกว่าหลักสิบ 10 เท่า หลักสิบน้อยกว่าหลักร้อย 10 เท่า ตามลำดับ

4).เลขฐานสิบหก

เลขฐานสิบหก มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 4 หลัก แทนด้วย
เลขฐานสิบหก 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 8 บิทแทนด้วยเลขฐานสิบหก 2 บิท การใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง
การเปลี่ยนฐานเลข (Base Number Conversion)

เนื่องจากตัวเลขในแต่ละฐานมี ค่าคงที่เฉพาะ ในแต่ละหลักของตัวเอง เช่นตัวเลข 100 มีค่าเท่ากับหนึ่งร้อยในระบบเลขฐานสิบ แต่ตัวเลข 100 ในระบบ
เลขฐานสอง (อ่านว่า หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 4 เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่สามารถนำค่าของเลขฐานใดๆ ไปคำนวณเปรียบเทียบ กับเลขฐานอื่นได้โดยตรง
เมื่อต้องการคำนวณหรือเปรียบเทียบตัวเลข (ประมวลผล) จำเป็นต้องเปลี่ยนฐานเลขเหล่านั้นให้เป็นฐานเดียวกันก่อน การเปลี่ยนฐานเลขสามารถกระทำได้
หลายวิธี ในหน่วยเรียนนี้จะใช้วิธีที่สะดวกที่สุดวิธีหนึ่ง ดังนี้
ก่อนเปลี่ยนฐานเลขใดๆ จำเป็นต้องทราบค่าคง ที่เฉพาะในแต่ละหลักของเลขฐานสองดังนี้


ตาราง แสดงค่าคงที่เฉพาะในแต่ละหลักของเลขฐานสอง


จากตาราง พบว่าค่าคงที่เฉพาะ จะมีค่าเป็น 2 เท่า จากขวาไปซ้าย
การเปลี่ยนเลขฐานสอง เป็นเลขฐานสิบ
ให้นำค่าคงที่เฉพาะที่ตรงกับเลข 1 ของฐานสองมารวมกัน เช่นจำนวน (11010)2ประกอบด้วยเลข “1” จำนวน 3 ตัว
เมื่อนำค่าคงที่เฉพาะที่ตรงกับเลข 1 มารวมกัน ทำให้ได้จำนวนในฐานสิบเป็น 16+8+2 = 26 ดังนี้



นอกจากนี้การเปลี่ยนเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานสิบยังสามารถทำได้โดย นำตัวเลขในแต่ละตำแหน่งคูณด้วยค่าประจำตำแหน่งแล้วนำมารวมกัน

ค่าประจำตำแหน่งของเลขฐานสองเริ่มตั้งแต่ 20,21,22,…
ตัวอย่างเช่น
(1011)2 = (1x23)+(0x22)+(1x21)+(1x20)
= (1x8)+(0x4)+(1x2)+(1x1)
= 8+0+2+1
= 11

การเปลี่ยนเลขฐานสิบ เป็นเลขฐานสอง

ให้พิจารณานำค่าคงที่เฉพาะหลักใดๆมารวมกัน เพื่อให้ได้ค่าเท่ากับเลขฐานสิบที่กำหนด จากนั้นเติมเลข “1“ ณ ตำแหน่งที่นำตัวเลขมารวมนั้น เช่น (26)10จะต้องใช้ค่าคงที่เฉพาะรวมกัน 3 หลัก (16+8+2) ดังนั้นจึงเติม “1” ณ ตำแหน่ง

16,8 และ 2 ตามลำดับ ส่วนตำแหน่งที่เหลือให้เติม “0”

คุณสมบัติของดิน

ถ้าลองสังเกตดูให้ดี...
ในเวลาที่เราได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา น้ำตก ชายทะเล ท้องนา ท้องไร่ สวนผลไม้ ฯลฯ จะพบว่า ดินที่เราเหยียบย่ำอยู่ในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันออกไป สิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีของดิน ซึ่งมีทั้ง สีดำ สีน้ำตาล สีแดง หรือสีเหลือง เป็นต้น หรือลักษณะของเนื้อดินที่มีความหยาบ-ละเอียด แข็ง-นุ่ม แตกต่างกัน ซึ่งความต่างเหล่านี้เป็นผลมาจากปัจจัยและกระบวนการเกิดดินที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อลักษณะหน้าตาของดิน ชนิดของพืชพรรณธรรมชาติที่ขึ้นปกคลุม และความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันไปอีกด้วย

ดินเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เกิดจากหินและแร่ที่แตกหักสลายตัวด้วยกระบวนการผุพังรวมกับซากพืชซากสัตว์ น้ำ และอากาศ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ดินแต่ละแห่งจะมีลักษณะและสมบัติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณส่วนประกอบของดิน ทำให้ดินมีเนื้อดิน สีของดิน และปริมาณแร่ธาตุแตกต่างกัน จากการศึกษาเรื่องลักษณะของดิน โดยการขุดดินชั้นบน ( ลึกจากผิวดินประมาณ 20 เซนติเมตร) นำมาศึกษา พบว่า

2.1 ลักษณะเนื้อดิน คือ คุณสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า บางชนิดเนื้อละเอียด บางชนิดเนื้อหยาบ ชิ้นส่วนเล็กๆ ของดินประกอบด้วยกรวด ทราย ดินตะกอน ดินเหนียวและฮิวมัส
ภาพที่ 1 ลักษณะของดิน

2.2 สีของดิน คือ สีที่เกิดจากสารประกอบในดินทำให้ดินมีสีต่างกัน เช่น ดินที่มีฮิวมัสปนอยู่มาจะมี สีคล้ำ ดินที่มีเหล็กปนอยู่มากจะมีสีน้ำตาลแดง

ดินหินแร่

การกำเนิดของดิน
เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้





ขั้นที่ 1 การผุพัง สลายตัว (Weathering) เป็นสาเกตุทำให้ชั้นหินแตกเป็นหินก้อนใหญ่ๆ หินชั้นนี้ เมื่อถูกแสงแดดและฝนตกก็จะแตกหักและผุพังเป็นชิ้นเล็กๆต่อไป
ขั้นที่ 2 ขบวนการสร้างดิน (Soil Forming Process) จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการผุพังสลายตัวของหินและ พืชจะเจริญงอกงามตามบริเวณรอยแตกของหิน แมลงเล็กๆ และสัตว์อื่นๆ เข้ามาอาศัยตามบริเวณรอยแตกเมื่อพืชและสัตว์ตายจะสลายตัวไปเป็นฮิวมัส
ขั้นที่ 3 สัตว์เล็กๆ ในดิน จะเคลื่อนที่ไปมาทำให้ฮิวมัสผสมกับเศษหินและแร่กลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ เรียกว่า ดินชั้นบน คลิกอ่านต่อค่ะ
< ก่อนหน้า ถัดไป >
[ ย้อนกลับ]

อาหารและโภชนาการ

คนปรุงอาหาร ความอร่อยรับรองคุณภาพด้วยหุ่นค่ะ
ขออนุญาตอีกครั้งนะคะ ภาพอาหารที่ทำที่ฟินแลนด์ทั้งทำรับประทานเอง และสอนบางเมนู แต่อาหารที่ทำจะเน้นไม่เผ็ด และอาหารไทยที่ทำ จะไม่ใช่อาหารไทยเต็ม100% เพราะวัตถุดิบที่นี่ค่อนข้างหายาก ต้องเดินทางไปซื้อไกลถึง85กิโลเมตร บางทีไปถึงก็สินค้าก็หมดแล้ว ผักบางอย่างก็นำเข้าไม่ได้เพราะมีสารพิษเจือปน ที่นี่เคร่งครัดเรื่องนี้มาก ถ้ามีการพ่นยาหรือสารพิษตกค้างจะนำเข้าประเทศเขาไม่ได้ อย่างใบกระเพรานำเข้าไม่ได้ตั้งแต่ปีที่แล้ว แป้งข้าวจ้าวต้องรอตั้ง1เดือนถึงมีสินค้า ก็เลยได้ทำขนมดอกจอกก่อนกลับเมืองไทยไม่กี่วันแต่ก็คุ้มกับการรอ เพราะฝรั่งบอกว่าเป็นขนมที่อร่อยและสวยมาก ลองมาดูภาพอาหารที่ทำดูนะคะ อย่าสงสัยนะคะว่าเอาน้ำปูนใสมาจากไหน ดิฉันเตรียมไปพร้อมทั้งพิมพ์ขนมดอกจอก ครองแครง แม้แต่เทียนอบ อิ อิ อิ(เอากะหล่อนซิ) ขนาดข้าวจี่หล่อนยังกล้าทำให้ฝรั่งกินบอกฝรั่งหน้าตาเฉยว่า ไรค์เค้ก ฮาฮาฮา ฝรั่งก็เหลือเกินกินไม่มีเหลือเหมือนกัน

มารยาทต่อพระสงฆ์

การเคารพถือว่าเป็นมงคล คือ ความเจริญก้าวหน้า เพราะความเคารพเป็นสิ่งปลูกสร้างนิสัยในทางที่ดีงาม เสริมบุคลิกภาพของคนให้น่าคบหา และทำให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ความเคารพทำให้คนประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน ประกอบการสิ่งใดก็อบอุ่นใจ เพราะมีเพื่อนมากมีผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือมาก คนที่รู้จักเคารพผู้อื่น ถือว่าเป็นคนดีมีมารยาท ไปในที่ไหนๆ มักได้รับการต้อนรับและทักทายก่อนเสมอ เป็นบุคคลที่สังคมต้องการ บิดามารดาครูอาจารย์และญาติมิตร ย่อมมีเมตตาจิตต่อลูกหลานและศิษย์ที่มีความเคารพ







พระพุทธศาสนาแสดงประเภทแห่งบุคคลที่ควรเคารพไว้ดังนี้

1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก ให้กำเนิดพระพุทธศาสนาเผยแพร่ธรรม สอนประชาชน ให้ละชั่วประพฤติดีชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์

2. พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ธรรมดับกิเลสตัณหาได้เฉพาะตัวไม่สอนผู้อื่น ประพฤติสันโดษตามลำพัง มีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาเป็นเครื่องอยู่ ไม่สั่งสมบุญไม่สั่งสมบาปไม่เป็นศัตรูกับใคร แผ่เมตตาจิตให้เกิดหิตสุขแก่สัตว์โลกอย่างเดียว

3. พระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทางกายวาจาและใจด้วยตนเองแล้ว สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาด้วยการเทศน์สั่งสอนประชาชนให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้คอยสอดส่องความประพฤติแล้วว่ากล่าวตักเตือนแนะนำพร่ำสอนศิษยานุศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย

4. มารดาบิดาผู้ให้กำเนิดบุตรธิดา และเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนบุตรธิดาของตนให้เจริญเติบโตเป็นคนดีมีวิชาความรู้

5. ญาติผู้เจริญในสกุลมีพี่ชายพี่สาวเป็นต้น

อาหารแต่ละภาค

อาหารภาคกลาง
ลักษณะอาหารพื้นบ้านภาคกลางมีที่มาต่างกันดังนี้ ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอดรับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ โดยเฉพาะอาหารจากในวังที่มีการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวานแกงกะทิ แนมด้วยปลาเค็ม สะเดาน้ำปลาหวานก็ต้องคู่ กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสดหรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกหลายชนิด เช่น ผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง
อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ
ภาคเหนือรวม 17 จังหวัดประกอบด้วยภูมินิเวศน์ที่หลากหลายพร้อมด้วยชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบลุ่ม ที่ดอน และที่ภูเขาสูงในการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยพื้นราบซึ่งเป็นชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ จะกระจุกตัวอยู่ที่ พื้นที่ลุ่มบริเวณแม่น้ำสายใหญ่ เช่น ปิง วัง ยม น่าน ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน และ อิง ลาว ของลุ่มน้ำโขง มีวิถีชีวิตผูกพันกับวัฒนธรรมการปลูกข้าวโดยชาวไทยพื้นราบภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน) มีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลักอาหารของคนเหนือ จะมีความงดงาม เพราะด้วยนิสัยคนเหนือจะมีกริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหาร โดยมากมักจะเป็นผัก
อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีวิถีชีวิตที่ผูกติดกับทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งในเขตที่ราบ ในแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร อาศัยลำน้ำสำคัญ เช่น ชี มูล สงครามโขง เป็นต้น และชุมชนที่อาศัยในเขตภูเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทือกเขาภูพานและเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งความแตกต่างของทรัพยากรธรรมชาติทำให้ระบบอาหาร และรูปแบบการจัดการอาหารของชุมชน แตกต่างกันไปด้วย แต่เดิมในช่วงที่ทรัพยากรธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์ อาหารจากธรรมชาติมีความหลากหลาย และอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านจะหาอาหารจากแหล่งอาหารธรรมชาติเท่าที่จำเป็นที่จะบริโภคในแต่ละวันเท่านั้น เช่น การหาปลาจากแม่น้ำ ไม่จำเป็นต้องจับปลามาขังทรมานไว้ และหากวันใดจับปลาได้มากก็แปรรูปเป็นปลาร้าหรือปลาแห้งไว้บริโภคได้นาน ส่งผลให้ชาวบ้านพึ่งพาอาหารจากตลาดน้อยมาก ชาวบ้านจะ “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” สวนหลังบ้านมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็น แหล่งอาหารประจำครัวเรือน ชาวบ้านมีฐานคิดสำคัญเกี่ยวกับการผลิตอาหาร คือ ผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภค มีเหลือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านและทำบุญอาหารอีสานจะเน้นไปทางรสชาติที่เผ็ดร้อน

ขรรค์5

ขันธ์ 5 มีอะไรบ้าง คืออะไร สำคัญอย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2008, 11:45:35 am »

--------------------------------------------------------------------------------


ขันธ์ 5 คืออะไร

สรรพสิ่งทั้งหลายในอนันตจักรวาลนั้น แยกประเภทได้เป็น 3 ส่วน (ดูแผนผังด้านล่างประกอบ) คือ

1.) ส่วนที่เป็นวัตถุทั้งหลาย ได้แก่ สสารทั้งหลาย แสง สีทั้งหลาย เสียง กลิ่น รส ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง อาการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ช่องว่างต่างๆ อากาศ ดิน น้ำ ไฟ ลม สภาพแห่งความเป็นหญิง เป็นชาย เนื้อสมองและระบบของเส้นประสาททั้งหลาย อันเป็นฐานให้จิตเกิด รวมทั้งอาการแห่งความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของวัตถุทั้งหลายด้วย
ซึ่งรวมเรียกว่ารูปขันธ์ (ขันธ์ = กอง หมวด หมู่)

2.) ส่วนที่เป็นความรู้สึกนึกคิด และความคิดทั้งหลาย รวมเรียกว่านามขันธ์ แยกได้ 4 ชนิดคือ

2.1) เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกเป็นสุขทางกาย ทุกข์ทางกาย โสมนัส(สุขทางใจ) โทมนัส(ทุกข์ทางใจ) อุเบกขาหรืออทุกขมสุขเวทนา(เป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์)

2.2) สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ คือส่วนที่ทำหน้าที่ในการจำนั่นเอง (ไม่ใช่เนื้อสมอง แต่เป็นส่วนของความรู้สึกนึกคิด เนื้อสมองนั้นจัดเป็นรูปขันธ์ เนื้อสมองเป็นเหมือนสำนักงาน ส่วนนามขันธ์ทั้งหลายเหมือนผู้ที่ทำงานในสำนักงานนั้น)

2.3) สังขารขันธ์ คือส่วนที่ปรุงแต่งจิต คือสภาพที่ปรากฎของจิตนั่นเอง เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทาน(สภาพของจิตที่สละสิ่งต่างๆ ออกไป) ความเมตตา กรุณา มุทิตา สมาธิ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ท้อถอย ความง่วง ความละอาย ความเกรงกลัว ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว เจตนาในการทำสิ่งต่างๆ ความลังเลสงสัย ความมั่นใจ ความเย่อหยิ่งถือตัว ความเพียร ปิติ ความยินดีพอใจ ความอิจฉา ความตระหนี่ ศรัทธา สติ ปัญญา การคิด การตรึกตรอง

2.4) วิญญาณขันธ์ หรือจิต คือผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง คือรับรู้ความรู้สึกต่างๆ
ตั้งแต่ ข้อ 2.1 จนถึงข้อ 2.3 และเป็นผู้รับรู้ถึงส่วนที่เป็นรูปขันธ์ทั้งหลายด้วย อันได้แก่เป็นผู้รับรู้สิ่งทั้งหลาย ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง รวมถึงเป็นผู้รับรู้ในสภาวะแห่งนิพพานด้วย

3.) นิพพาน คือสภาวะที่พ้นจากรูปขันธ์และนามขันธ์ทั้งปวง
หรือสภาวะจิตที่พ้นจากความยึดมั่นผูกพันธ์ในสิ่งทั้งปวง รวมถึงไม่ยึดมั่นในนิพพานด้วย
นิพพาน = นิ + วาน (ในภาษาบาลีนั้น ว. กับ พ. ใช้แทนกันได้ วาน จึงเท่ากับ พาน)
นิ = พ้น
วาน = สิ่งที่เกี่ยวโยงไว้ ได้แก่ ตัณหาคือความทะยานอยาก และอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
นิวาน หรือนิพพาน แปลตามตัวจึงหมายถึงความพ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง(ตัณหาและอุปาทาน) นั่นเอง

สรุปแล้วขันธ์ 5 ประกอบด้วย

1.) รูปขันธ์
2.) เวทนาขันธ์
3.) สัญญาขันธ์
4.) สังขารขันธ์
5.) วิญญาณขันธ์


โดยที่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์รวมเรียกว่าเจตสิก ซึ่งแปลว่าเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกับจิตเสมอ (ในภาษาบาลีนั้นสระ อิ กับสระ เอ ใช้แทนกันได้ เจต จึงเท่ากับ จิต นั่นเอง) คือจิตและเจตสิกจะเกิดและดับพร้อมกันเสมอ จะแยกกันเกิดไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ เพียงแต่ว่าตอนนั้นนามขันธ์ตัวไหนจะแสดงตัวเด่นกว่าตัวอื่นเท่านั้นเอง

ประเทศพื้นบ้าน

ลาว" ประเทศเพื่อนบ้าน ใกล้ชิดของไทย (1)
คอลัมน์ เศรษฐกิจระบบสารสนเทศ โดย ดร.ฉวีวรรณ สายบัว ประชาชาติธุรกิจ หน้า 9 วันที่ 19 เมษายน 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 3576 (2776)

ก่อนที่จะมีโอกาสศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้รู้จักมากขึ้นและก่อนที่จะมีโอกาสเดินทางไปสัมผัสไปเห็นด้วยตาตนเอง ผู้เขียนมีความสนใจหรืออาจเรียกว่าเป็นความประทับใจในประเทศลาว (หรือชื่อประเทศในปัจจุบัน คือ สาธารณรัฐประชา ธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว) และคนลาวที่จารึกอยู่ในใจมาโดยตลอดอยู่หลายประการ

ประการแรกคือ ความประทับใจในบุคลิก ภาพหรือบุคลิกลักษณะของคนลาว (โดยเฉพาะของบุคคลในระดับผู้นำประเทศที่ได้เห็นผ่านทางจอทีวีไทยเมื่อมีข่าวอะไรเกี่ยวกับประเทศลาวและคนลาว) ที่ดูสงบ (เย็น) นิ่ง (ไม่ร้อนรน) เป็นธรรมชาติ (ไม่ปรุงแต่งไม่เคลือบด้วยอะไรที่ปลอมๆ) สุภาพเรียบร้อย (ไม่โหวกเหวก/เสียงดัง) ถ่อมตน (ไม่ทำตนโด่งดัง/ไม่ทำตนให้มีชื่อเสียง) มีศีลมีธรรม (ไม่ดูหลอกลวง) และมีหลักการ/ อุดมการณ์ที่เชื่อที่ยึดถือในชีวิตของตน

(ซึ่งดูจะตรงกันข้ามแทบจะโดยสิ้นเชิงกับบุคลิกลักษณะของคนไทยใน พ.ศ.นี้ ทั้งที่เป็นผู้นำและผู้ตาม เพราะอิทธิพลของการเลียนแบบอย่างกันที่ดูไร้บุคลิกภาพ (มีแต่การวางท่า) ร้อนรน สับสน โฉ่งฉ่าง ไร้อุดมการณ์ วัตถุนิยม ผิดเพี้ยน บ้าอำนาจ หลงตนเอง ฟุ้งเฟ้อ ชอบโอ้อวด (อวดดี อวดเก่ง อวดมั่งมี อวดร่ำรวย) ทำชีวิตเหมือน (การแสดง) ละคร บุคลิกแบบศรีธนญชัย (ขาดศีลธรรม ไม่น่าเชื่อถือ เหนือชั้น เอาตัวรอดโดยวิธีง่ายๆ และตามมาด้วยการกลายมาเป็นคนเก๊ คนปลอม เต็มบ้านเต็มเมืองกันไปหมด) และมีบุคลิกลักษณะแบบคนขาด (อยากใหญ่ อยากมีอิทธิพล อยากประสบความสำเร็จ อยากเด่นดัง อยากมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก อยากเป็นที่ยอมรับของคนอื่นมาก)

ส่วนประการที่สอง ของความสนใจหรือความประทับใจในประเทศลาวและคนลาวของผู้เขียนก็คือ ความรู้สึกที่ว่าประเทศลาวและคนลาว คือ ประเทศและผู้คนที่เรารู้สึกคุ้นเคยและเป็นกันเอง (เหมือนเพื่อนเหมือนคนที่เรารู้จักเป็นอย่างดี) น่าจะเป็นเพราะว่า (1) ทั้งไทยและลาวต่างมีรูปร่างหน้าตา ภาษา และวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิต (ดั้งเดิม) โดยทั่วไปแทบจะไม่แตกต่างอะไรกันนัก เพราะฉะนั้นทำให้การติดต่อการเดินทางไปประเทศลาวของคนไทยจึงไม่ต้องห่วงกังวล หรือสบายใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาในเรื่องภาษาว่าจะสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง (ดังเช่นที่อาจเป็นปัญหามาก ในการเดินทางไปประเทศตะวันตก หรือแม้แต่ใน ประเทศเอเชียอื่นด้วยกัน)

และ (2) ทั้งประเทศลาวและประเทศไทยมี ประวัติศาสตร์ร่วมกันมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ (แม้ในบางช่วงบางตอนของประวัติ ศาสตร์อาจขมขื่นและผิดข้องหมองใจกันบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา) เพราะมีที่ตั้งบ้านเรือนแทบจะอยู่ติดกัน ห่างกันก็เพียงแค่มีแม่น้ำโขงขั้นกลางเท่านั้น (และโดยส่วนตัวแม้แต่ครอบครัวของผู้เขียนเอง ก็ยังมีโอกาสใช้ช่วงชีวิตส่วนหนึ่ง ใกล้ชิดประเทศลาว และคนลาวในสมัยที่คุณพ่อ ซึ่งเป็นข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ถูกส่งไปรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ ที่แขวงจำปาสัก (ในสมัยที่ยังเป็นของประเทศไทย) ทำให้พวกพี่ๆ และญาติๆ ที่เป็นรุ่นโตกัน (ผู้เขียนยังไม่เกิด) มีโอกาสตามคุณพ่อไปอยู่ที่นั่นกัน ซึ่งทุกคนต่างมีความทรงจำที่ดี มีเรื่องเล่าถึงชีวิตกันที่นั่นมากมาย และต่างรอวัน และโอกาสที่จะได้กลับไปเยี่ยมเยือน เพื่อระลึกถึงความหลัง)

ประการที่สาม ของความสนใจและความประทับใจในประเทศลาวและคนลาวก็คือ แม้ลาวอาจจะเป็นประเทศเล็กที่มีประชากรเพียง 5 ล้านคนในปัจจุบัน (แต่มีขนาดพื้นที่ประเทศกว้างขวาง) และถือเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งของโลก แต่ก็เป็นประเทศที่ไม่ได้ติดอยู่กับที่โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงประเทศอะไรเลย ตรงกันข้ามมีเหตุการณ์สถานการณ์ภายในประเทศที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดตามลำดับ

จนถึงครั้งล่าสุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างขนานใหญ่และรุนแรง คือการล้มล้างการปกครองประเทศ โดยระบอบกษัตริย์ แล้วเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม (socialism) เฉกเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียอื่นๆ ของไทย (ตัวอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา พม่า และจีน เป็นต้น) ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ของการเปลี่ยนแปลงประเทศ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ที่ทำให้ต้องเสียค่าโง่ (ต้นทุน/ ค่าใช้จ่ายของการเปลี่ยนแปลง) ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างขนานใหญ่ ที่ให้บทเรียนแก่ประเทศ และประชาชนของประเทศ สำหรับการที่จะนำพาประเทศไปสู่อนาคตต่อไปอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย (ดูเหมือนจะมีแต่ประเทศไทยของเราที่ยังไม่มีประสบการณ์หรือการเสียค่าโง่เช่นนี้เลย ที่เอาประเทศรอดกันมา ก็โดยใช้วิธีการทางการทูต และเหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นในประเทศใน เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาคม 2535 ก็ไม่ได้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยน แปลงประเทศไทยอย่างแท้จริงอะไร)

และประการที่สี่ ของความสนใจและความประทับใจในประเทศลาวและคนลาวของผู้เขียนก็คือ เมื่อนึกถึงหรือมองดูประเทศลาวแล้ว ก็มักจะนึกเปรียบเทียบไปถึงประเทศที่มีขนาดเล็กเหมือนกัน (ในแง่ขนาดประชากรและ/หรือขนาดพื้นที่ประเทศ) อื่นๆ โดยเฉพาะที่เป็นประเทศเล็กที่มีความเจริญก้าวหน้ามาก (ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศ) ดังเช่นประเทศเล็กๆ ในยุโรปตะวันตกหรืออย่างประเทศนิวซีแลนด์หรือสิงคโปร์ในทวีปเอเชียด้วยกัน

และนอกจากทรัพยากรมนุษย์ (คือประชากรลาว 5 ล้านคนที่มีอยู่ในปัจจุบัน) ลาวก็เป็นประเทศ ที่มีพื้นที่กว้างขวางและมีทรัพยากร ธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ที่ยังไม่ได้ขุดไม่ได้เจาะเอาขึ้นมาใช้ให้เกิดค่าและประโยชน์อยู่อีกมาก และการเป็นประเทศที่พัฒนามาที่หลังหรือยังไม่ได้รีบเร่งพัฒนาประเทศมาก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้ลาวมีเวลาและสามารถที่จะเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาประเทศทั้งในแง่ดีและเสียที่เกิดขึ้น จากการพัฒนาจากประเทศที่พัฒนามาก่อนทั่วโลก และจากประเทศในอาเซียนด้วยกันรวมทั้งจากประเทศไทย

จึงเกิดคำถามหรือความสงสัยขึ้นในใจของผู้เขียนว่า บุคคลในภาครัฐบาล และชนชั้นผู้นำ/ ผู้ปกครองของประเทศลาว และประชาชนลาวโดยทั่วไป มีความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติหรือมองเห็นไปอย่างไร กับการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งล้อมรอบอยู่ มีแผน นโยบายหรือทิศทางที่จะพัฒนาประเทศลาวและประชาชนลาวให้ไปอย่างไร มีความต้องการ และความปรารถนาที่จะยกระดับการพัฒนาประเทศ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนลาวกันให้สูงขึ้นไป จากระดับที่เป็นอยู่หรือไม่ และท้ายที่สุดแล้วมีเป้าหมายที่อยากจะเห็นประเทศลาวและคนลาวเป็นอย่างไร (เจริญก้าวหน้าทัด เทียมอย่างเช่นประเทศที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นหรือไม่) แล้วลาวมีปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดอะไรในการพัฒนาประเทศ และต้องการความช่วยเหลือและความร่วมมืออะไรจากต่างประเทศและประเทศเพื่อนบ้านล้อมรอบลาว (ไทย กัมพูชา พม่า เวียดนามและจีน)

คำถามหรือความสงสัยต่างๆ ที่ยกขึ้นมาดังข้างต้นยังหาคำตอบไม่ได้ เพราะแม้ผู้เขียนจะมีความสนใจ และความประทับใจในประเทศลาว และคนลาวหลายประการ แต่ก็ยังขาดความรู้และความเข้าใจในประเทศลาว และคนลาวอยู่มาก ซึ่งก็คงจะเช่นเดียวกับคนไทยโดยทั่วไปและรัฐบาลไทย และดังที่กล่าวนี้ก็ถูกยืนยันมาแล้ว โดยคำพูดจากปากของคนลาวเอง (คือจากปากของไกด์ลาว ที่ผู้เขียนมีโอกาสได้พูดคุยด้วย ระหว่างท่องเที่ยวอยู่ในหลวงพระบาง อันเป็นเมืองหลวงเก่าของลาว และเมืองที่เป็นมรดกโลกที่ทำให้ผู้เขียน เมื่อได้ฟังถึงกับอึ้งไปเลย) ว่า "คนลาวรู้จักคนไทย และรู้เรื่องประเทศไทยทุกอย่าง แต่คนไทยไม่รู้จักคนลาว"

หลักฐานประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์


หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยการกระทำ การพูด การเขียน การประดิษฐ์ การอยู่อาศัยของมนุษย์ หรือลึกไปกว่าที่ปรากฏอยู่ภายนอก คือ ความคิดอ่าน โลกทัศน์ ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ความรู้สึกของคนในปัจจุบัน สิ่งที่มนุษย์จับต้องและทิ้งร่องรอยไว้ กล่าวได้ว่าอะไรก็ตามที่มาเกี่ยวพันกับมนุษย์ หรือมนุษย์เข้าไปเกี่ยวพันสามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น
การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
๑) แบ่งตามยุคสมัย
(๑) หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า “มุขปาฐะ”
(๒) หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง มีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ปราณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน

๒) แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก
(๑) หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย
(๒) หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐานจากการบอกเล่า ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไสด์ แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร

๓) แบ่งตามลำดับความสำคัญ
(๑) หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary sources) หมายถึง หลักฐานที่บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น โดยผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง หรือบ่งบอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สนธิสัญญา บันทึกคำให้การ จดหมายเหตุ กฎหมาย ประกาศของทางราชการ ศิลาจารึก จดหมายโต้ตอบ และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ภาพเขียนสีผนังถ้ำ เครื่องมือเคื่องใช้ เครื่องประดับ เจดีย์
(๒) หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึง หลักฐานที่เกิดจากการนำหลักฐานชั้นต้นมาวิเคราะห์ ตีความเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน พงศาวดาร
นักประวัติศาสตร์บางท่านยังได้แบ่งหลักฐานประวัติศาสตร์ออกไปอีกเป็น หลักฐานชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary sources) หมายถึง หลักฐานที่เขียนหรือรวบรวมขึ้น จากหลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาอ้างอิง เช่น สารานุกรม หนังสือแบบเรียน และบทความทางประวัติศาสตร์ต่างๆ

พุทธศาสนาสุภาษิต

พุทธสุภาษิต - พุทธศาสนสุภาษิต



สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้

พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์) ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น

วิธีการอ่านภาษาบาลี คลิกที่นี่

ดาวน์โหลดไฟล์พุทธสุภาษิตรวม 1,517 สุภาษิต คลิ๊กที่นี่ (จัดทำโดย kusol.com)

ดูข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า คลิ๊กที่นี่

พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา

ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า
ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล
พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก
ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก

พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง


น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้
น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์
สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยามานํ ธมฺมนฺเวติ กิญฺจิ
ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง
พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ

โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก
โกโธ สตฺถมลํ โลเก
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข
พุทธศาสนสุภาษิต : ความทุกข์

ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
ความจนเป็นทุกข์ในโลก
อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
พุทธศาสนสุภาษิต : สหาย

อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้
สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบพึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร
มีมิตรเลว มีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและมีที่เที่ยวเลว
นตฺถิ พาเล สหายตา
ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล
ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
พุทธศาสนสุภาษิต : มลทิน

อสชฺฌายมลา มนฺตา
มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
ความเกียจค้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
พุทธศาสนสุภาษิต : บริสุทธิ์

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์มีเฉพาะตัว
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ
พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
พุทธศาสนสุภาษิต : การชนะ

สพฺพรติง ธมฺมรติ ชินาติ
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
น หิ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
ความชนะที่ไม่กลับแพ้เป็นดี
อสาธุง สาธุนา ชิเน
พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดีของตน
ชิเน กทริยํ ทาเนน
พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
สจฺเจนาลิกวาทินํ
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
พุทธศาสนสุภาษิต : หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น

อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
มนาปทายี ลภเต มนาปํ
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
บุญของผู้ให้ย่อมเจริญ
ทเทยฺย ปุรโส ทานํ
คนควรให้ทาน
ปุญฺญมากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ
พระสงฆ์นั้นแล เป็นประมุขของเหล่าชนผู้จำนงบุญบูชาอยู่
พุทธศาสนสุภาษิต : ผู้ครองเรือน

ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ฯ
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทินฯ
โภคา สนฺนิจฺจยํ ยนฺติ วมฺมิโก วุปจียติ
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้นฯ
พุทธศาสนสุภาษิต : ภรรยา

ภตฺตา ปุญฺญาณมิตฺถิยา
ภัสดาเป็นสง่าของสตรีฯ
ภตฺตารํ นาติมญฺญติ
ภรรยาดี ไม่ดูหมิ่นภัสดา
ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
ภรรยาย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความพอใจของภัสดา
ภตฺตุญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
ภรรยาผู้ฉลาดย่อมนับถือภัสดาและคนควรเคารพทั้งปวง
ภตฺตุมนา ปญฺจรติ
ภรรยาดีย่อมประพฤติเป็นที่พอใจของภัสดา
สมฺภตํ อนุรกฺขติ
ภรรยาดีย่อมคอยรักษาทรัพย์ที่ภัสดาหามาได้ไว้
สุสํวิหิตกมฺมนฺตา
ภรรยาดีเป็นผู้จัดทำการงานดี
สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ
บรรดาภิรยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
พุทธศาสนสุภาษิต : วาจา

หทยสฺส สทิสี วาจา
วาจาเช่นเดียวกับใจ
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน
ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
คนโกรธมีวาจาหยาบคาย
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน
อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์
ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ
วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
ควรเปล่งวาจางาม
โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
นามนุญฺญํ กุทาจนํ
ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ
ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล
พุทธศาสนสุภาษิต : ความกตัญญูและพรหมวิหาร

หิริโอตฺตปฺ ปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
หิริและโอตตับปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
อรติ โลกนาสิกา
ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห
อัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาเป็นลักษณะของความเป็นมหาบุรุษ
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
สพฺพญฺเจ ปฐวิง ทชฺชา เนว นํ อภิราธเย
ถึงแม้ให้แผ่นดินทั้งหมดก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
พุทธศาสนสุภาษิต : คนชั่วกับลาภสักการะ

หนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ
โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
พุทธศาสนสุภาษิต : การงาน

อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺติง
คนไม่เกียจคร้าน พึงได้รับความสงบใจ
สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก
อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน
นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่

ที่มาของโขน

กำเนิดของโขน
โขน เป็นมหรสพชั้นสูงที่ใช้แสดงในงานสำคัญๆมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกับหนังใหญ่ เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่โบราณประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 โดยสันนิษฐานว่า “โขน” ได้พัฒนามาจากการแสดง 3 ประเภท คือ
1. การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์
การแสดง “ชักนาคดึกดำบรรพ์” มีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงพระราชพิธีอินทราภิเษกว่า
“ในการพระราชพิธีอินทราภิเษกปลูกเขาพระสุเมรุ (หมายเหตุ : สร้างจากโครงไม้ไผ่ แล้วปิดทับด้วยกระดาษ แล้วจึงทาสีให้แลดูเหมือนภูเขา) สูงเส้นหนึ่งกับ 5 วา ที่กลางสนาม ตั้งภูเขาอิสินธร ยุคนธร สูงสักหนึ่ง และภูเขากรวิกสูง 15 วา ที่เชิงเขาทำเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรเกี้ยว (หมายเหตุ : รัด)พระสุเมรุ แล้วตำรวจแต่งเป็นรูปอสูร 100 มหาดเล็กแต่งเป็นเทพยดา 100 และแต่งเป็นพาลี สุครีพ มหาชมภู และบริวารวานรรวม 103 ชักนาคดึกดำบรรพ์โดยมีอสูรชักหัว เทพยดาชักหาง ส่วนวานรอยู่ปลายหาง
ครั้นถึงวันที่ 5 ของพระราชพิธีเป็นวันกำหนดให้ชักนาคดึกดำบรรพ์ และวันที่ 6 เป็นวันชุบน้ำสุรามฤต ตั้งน้ำสุรามฤต 3 ตุ่ม ตั้งช้าง 3 ศีรษะ ม้าเผือก อศุภราช (หมายเหตุ : โคซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระอิศวร) ครุฑธราช นางดาราหน้าฉาน ตั้งเครื่องสรรพยุทธ เครื่องช้าง และเชือกบาศ หอกชัย ตั้งโตมร ชุบน้ำสุรามฤต เทพยดาผู้เล่นดึกดำบรรพ์ พร้อมด้วยรูปพระอิศวร พระนารายณ์ พระอินทร์ พระพิศวกรรม ถือเครื่องสำรับตามธรรมเนียม เข้ามาถวายพระพร”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เล่าเรื่อง “กวนน้ำอมฤต” ไว้ในหนังสือ ”บ่อเกิดรามเกียรติ์” ไว้ว่า
“เทวดา และอสูรอยากจะใคร่อยู่ยงพ้นจากความตาย จึงชวนกันกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤต เอาเขามนทรคีรีเป็นไม้กวน เอาพญาวาสุกรี (หมายเหตุ : พญานาคเจ็ดเศียร) เป็นเชือก พญาวาสุกรีพ่นพิษเป็นไฟพากันได้ความเดือดร้อน พระนารายณ์จึงเชิญให้พระอิศวรเสวยพิษเพื่อดับความเดือดร้อน พระอิศวรก็เสวยพิษเข้าไป (หมายเหตุ : พระศอของพระอิศวรจึงเป็นสีนิลเพราะผลแห่งพิษนั้น) เทวดา และอสูรชักเขามนทคีรีหมุนกวนไปอีก จนเขาทะลุลงไปใต้โลก พระนารายณ์จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคีรีไว้มิให้ทะลุลงไปได้อีก การกวนจึงกระทำต่อไปได้สะดวก เทวดากับอสูรทำสงครามกันชิงน้ำอมฤต พระนารายณ์ฉวยน้ำอมฤตไปเสียพ้นจากฝั่งเกษียรสมุทรแล้ว พวกอสูรมิได้กินน้ำอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมาก เทวดาจึงได้เป็นใหญ่ในสวรรค์”
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานอธิบายไว้ว่า การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์นี้ เป็นการแสดงตำนานทางไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล

2. การแสดงกระบี่กระบอง
ในสมัยโบราณคนไทยจะฝึกวิชาการต่อสู้ไว้สู้รบกับข้าศึก และเพื่อป้องกันตัว อาวุธที่ใช้ในการต่อสู้ก็มีทั้งอาวุธสั้น และอาวุธยาว เช่น มีด ดาบ หอก ไม้พลอง ฯลฯ อันเป็นที่มาของวิชากระบี่กระบอง วิชากระบี่กระบองนอกจากเป็นศิลปะการป้องกันตัวในสมัยโบราณแล้ว ยังสามารถนำไปแสดงเป็นมหรสพได้อีกประเภทหนึ่ง จนกระทั่งได้รับการปรับปรุงนำมาผสมผสานกับการแสดงโขนในเวลาต่อมา

3. การแสดงหนังใหญ่
การแสดงหนังใหญ่ เป็นมหรสพที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นดังมีปรากฎในกฎมณเฑียรบาล หนังใหญ่นั้นตัวหนังจะทำจากหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้างโดยผูกให้พ้นตัวหนังลงมาพอสมควรเพื่อใช้มือจับสำหรับเชิด หนังใหญ่ให้อิทธิพลกับโขน 2 อย่างคือ เรื่องราวที่ใช้แสดงเป็นเรื่องรามเกียรติ์ และลีลาการเชิดหนังซึ่งยอมรับกันว่าเป็นท่าแสดงของโขนในเวลาต่อมา โดยเฉพาะบทยักษ์หรือที่เรียกกันว่า “เต้นโขน”

การปลูกพืชเศรษฐกิจ

1 ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่เพาะปลูกมากเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกมากและทำชื่อเสียงให้จังหวัดคือข้าวขาว ดอกมะลิ 105 หรือข้าวหอมมะลินั่นเองเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีมีกลิ่นหอม ปลูกกันมากทุกอำเภอ นอกจากนี้ยังมีข้าวพันธุ์ กข. 15 มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิแต่กลิ่นหอมน้อยกว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ กข.15 ไว้เพื่อจำหน่ายแต่จะปลูกข้าวพันธุ์พืชเมืองไว้บริโภคเอง ซึ่งเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ นิยมบริโภคข้าวเมล็ดเล็กและเมล็ดใหญ่ ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ ข้าวเจ้าเหลือง ข้าวละอองกษัตริย์ และมีการปลูกข้าวเหนียวเล็กน้อยเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน
จังหวัดสุรินทร์จะมีการปลูกข้าวนาปี เริ่มต้นประมาณเดือนเมษายน สิงหาคม ในบางปีถ้าฝนมาล้าช้ามาก อาจจะเลยไปถึงเดือน กันยายน - ตุลาคม ซึ่งการทำนาในระยะนี้ มีผลทำให้ต้นข้าวมีระยะเวลาเติบโตไม่พอเพียง จะทำให้ผลผลิตลดลง ช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยวของจังหวัดสุรินทร์ เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์ กข. 15 ในเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิช่วง เดือนพฤศจิกายน - มกราคม เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก ทำให้ขาดแรงงาน ในช่วงเก็บเกี่ยว ซึ่งทำให้ค่าแรงสูงมากประมาณ 100 - 150 บาท ต่อคน/วัน และเก็บเกี่ยวข้าวไม่ทันทำให้ข่าวอยู่ในนานานเกินไป ส่งผลให้คุณภาพข้าวต่ำลง ในบางปีประสบปัญหามรสุมพัดผ่าน ในช่วงต้นข้าวกำลังแทงช่อดอกและฝนตกในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดโรคที่เกิดจากเชื้อราติดไปกับเมล็ดด้วยซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ข้าวมีคุณภาพต่ำส่งผลให้เกษตรขายข้าวได้ในราคาต่ำไปด้วย
สำหรับการเพาะปลูกปี 2542 เกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ เริ่มปลูกข้าวตั้งแต่เดือนเมษายน พื้นที่ปลูกข้าวเจ้านาปี ทั้งวิธีทำนาดำ และนาหว่านรวมทั้งสิ้น 3,097,644 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 99.07 ของพื้นที่ทำนาทั้งจังหวัด สำหรับข่าวเหนี่ยวนาปีปลูกในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี สำโรงทาบ สนม กาบเชิง กิ่งอำเภอพนมดงรัก และกิ่งอำเภอโนนนารายณ์ จำนวน 8,788 ไร่

2 มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันมากอีกชนิดหนึ่งพืชที่ปลูกมีความแปรปรวนขึ้นกับสภาพตลาดและราคาของหัวมันสดในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามมันสำปะหลังเป็นพืชหนึ่งที่ทางราชการมีการกำหนดมาตรการยกระดับราคาหลายวิธี อาทิการชดเชยให้แก่ผู้ส่ง ออกมันอัดเม็ดในราคาไม่ต่ำกว่า 0.95 บาทต่อกิโลกรัม หรือการยกเว้นภาษีเงินได้ เป็นต้น สำหรับการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่ปลูกในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน มีเกษตรกรส่วนน้อยที่ที่ปลูกปลายฤดูฝนในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ทางราชการส่งเสริมแทนการปลูกพันธุ์พื้นเมือง เช่นพันธุ์ระยอง 3 ระยอง 60 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 เป็นจำนวนมากทำให้ท่อนพันธุ์ดีมีราคาสูง ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจึงส่งเสริมให้เกษตรกรจัดทำแปลงขยายพันธุ์เพื่อกระจาย มันสำปะหลังพันธุ์ดีให้มากขึ้นดังนั้นในแหล่งผลิตมันสำปะหลังที่สำคัญยังคงมีการส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดี ที่มีเปอร์เซนต์แป้งสูง ส่วนในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมที่จะ|ปลูกมันสำปะหลังทางราชการก็จะสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541 ถึงเดือนกันยายน 2542 มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 32,159 ไร่ โดยปลูกมาก ในอำเภอบัวเชด 15,480 ไร่ กิ่งอำเภอพนมดงรัก 11,445 ไร่ และอำเภอกาบเชิง 4,000 ไร่ และยังมีปลูกในพื้นที่อำเภอปราสาท รัตนบุรี สังขะ ท่าตูม สนมกิ่งอำเภอศรีณรงค์ และกิ่งอำเภอโนนนารายณ์ปัญหาที่พบคือ ผลผลิตต่อไร่อยู่ในระดับต่ำ เฉลี่ยประมาณ 2,318 กก./ไร่ และพื้นที่ปลูกใน แต่ละปีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับราคามันสำปะหลังปีใดราคาดี เกษตรกรก็จะหันมาปลูกมันสำปะหลังมากขึ้น นอกจากมีปัญหาเรื่องผลผลิตต่ำแล้วผลผลิตไม่มีคุณภาพ เปอร์เซนต์แป้งต่ำ ราคาไม่มีเสถียรภาพ แหล่งรับซื้อลดลงและอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังมีจำนวนน้อย

3 ปอแก้ว เป็นปอชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูก เนื่องจากปอแก้วมีความทนทานต่อความแห้งแล้งและขึ้นในสภาพดินไร่ทั่วไปได้ดีเป็นพืชที่มีความเสี่ยงในการลงทุนน้อยที่สุด พันธุ์ปอแก้วปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์โนนสูง 2 ส่วนช่วงเวลาที่เพาะปลูกเริ่มต้นประมาณเดือน เมษายน-สิงหาคมผลผลิตที่ได้จะออกสู่ตลาดช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม พื้นที่ที่มีการปลูกปอมากในพื้นที่อำเภอบัวเชด กิ่งอำเภอพนมดงรัก กาบเชิง กิ่งอำเภอศรีณรงค์และยังมีปลูกในพื้นที่อำเภอจอมพระ ปราสาท รัตนบุรี สังขะ ท่าตุม สนม กิ่งอำเภอโนนนารายณ์

4 มะม่วง จังหวัดสุรินทร์มีพื้นที่ปลูกผลไม้ยืนต้น รวม 108,912.25 คิดเป็นร้อยละ 3.00 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ไม้ผลที่ปลูกได้แก่ มะม่วง มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ มะขามเปรี้ยว ยางพารา นุ่น หมาก ขนุน น้อยหน่า มะนาว ยูคาลิปตัส และสักทอง โดยเฉพาะมะม่วงมีพื้นที่ปลูกรวม 26,176 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นทั้งหมด ปลูกกันมากในพื้นที่อำเภอบัวเชด อำเภอรัตนบุร ี กิ่งอำเภอโนนนารายณ์กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอปราสาท อำเภอชุมพลบุรี อำเภอศีขรภูมิ อำเภอท่าตูม และอำเภอกาบเชิง นอกจากนี้จะปลูกกันประปรายตามหัวไร่ปลายนาและสวนหลังบ้าน พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากได้แก่ พันธ์พื้นเมือง เช่น แก้วเขียว และแก้วขาว อกร่อง พันธุ์ส่งเสริมได้แก่ น้ำดอกไม้ หนังกลางวัน เขียวเสวยหนองแซง เจ้าคุณทิพย์ แรด ฯลฯ สภาพปัญหาการผลิตในปัจจุบัน ผลผลิตต่ำ เนื่องจากขาดการปฏิบัติดูแลรักษาที่ดีและพันธุ์ที่ปลูกไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

5 ยางพารา เป็นพืชอุตสาหกรรมใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในจังหวัดสุรินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม จังหวัดสุรินทร์เริ่มส่งเสริมปลูกยางพารา ในพื้นที่อำเภอสังขะ ปี 2532 จนถึงปัจจุบัน จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ยางพารา จำนวน15,394 ไร่คิดเป็นร้อยละ 0.42 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด พื้นที่ปลูกยางพารา นอกจากนี้อำเภอสังขะ ยังมีพื้นที่ปลูกในกิ่งอำเภอศรีณรงค์ กิ่งอำเภอพนมดงรัก อำเภอกาบเชิง อำเภอบัวเชด นอกจากนี้ยังปลูกในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี ลำดวน สนม และกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ แต่เป็นจำนวนน้อยจังหวัด
สุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกยางพาราซึ่งในปัจจุบันสามารถเปิดกรีดยางได้แล้วจำนวน 1,364 ไร่ผลผลิตเฉลี่ย 210 กก./ ไร่
สภาพปัญหาในปัจจุบัน เนื่องจากผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนักจึงยังไม่มีพ่อค้ารับซื้อยางแผ่นดิบในท้องถิ่นเกษตรกร จึงนำมาขาย ณ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์มีแนวโน้มจะขยายพื้นที่ ปลูกยางพารา ให้มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเทคโนโลยีการกรีดยางให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มจำนวนวันกรีดน้ำยางและคุณภาพของ ผลผลิตให้ดีขึ้น

6 หม่อนไหม จังหวัดสุรินทร์มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงไหม และทอผ้าไหมมานาน มีพื้นที่ปลูกหม่อนเพื่อใช้ในการเลี้ยงไหม 19,936 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของพื้นที่การเกษตรของจังหวัด มีครัวเรือนเกษตรกรการปลูกหม่อนไหม จำนวน 23,274 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 14.48 ของครัวเรือนเกษตรกร การปลูกหม่อนไหมในจังหวัดสุรินทร์ส่วนใหญ่จะปลูกหม่อน เลี้ยงไหม เพื่อใช้ในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้เสริมแก่ครัวเรือน เกษตรกรจะเลี้ยงไหมเพื่อจำหน่ายเส้นไหม ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 26,007 ครัวเรือน
การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในจังหวัดสุรินทร์ มีแนวโน้มลดลง สาเหตุเพราะแปลงหม่อนของเกษตรกร มักปลูกอยู่ใกล้บ้านเรือนและใกล้กับถนนเมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้แปลงหม่อนปลูกสร้างบ้านเรือน หรือขายไปและเกษตรกร หันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าและขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยากเหมือนกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

การดูแลรักษาบ้าน

12 ไอเดียมุมพักผ่อนในบ้าน







ในช่วงเวลาของการพักผ่อน แน่นอนว่าแต่ละคนจะต้องมีมุมส่วนตัวเป็นมุมโปรดอยู่ที่ใดที่หนึ่งภายในบ้าน หากยังคิดไม่ออกว่าจะใช้มุมไหนก็มีวิธีง่ายๆ เนรมิตมุมพักผ่อนในบ้านที่ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น

1. สร้างบรรยากาศในห้องให้เป็นธรรมชาติ ด้วยการทาผนังเป็นสีขาว และทำพื้นหินขัดสีขาวที่ดูสบายตา ใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้สีธรรมชาติที่ไม่ต้องทำสี หรือใช้ของตกแต่งที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใส ทำให้ห้องดูโปร่งสบายตาน่าพักผ่อนตลอดเวลา

2. เพิ่มความหวานให้บ้านไม้เก่า น่าพักผ่อนมากขึ้น ด้วยการติดวอลล์เปเปอร์ลายดอกไม้แสนหวานบนฝ้าเพดาน เพื่อช่วยปกปิดความไม่เรียบร้อยของฝ้าเดิม และให้ความรู้สึกเหมือนกับดอกไม้กำลังโปรยลงมา พร้อมทั้งใช้เฟอร์นิเจอร์หวายที่ดูเป็นกันเอง วางหมอนและผ้าปูโต๊ะลายดอกไม้สีสวย ก็ทำให้น่านั่งขึ้นเป็นกอง

3. กั้นห้องนั่งเล่นให้เป็นสัดส่วน ด้วยการออกแบบส่วนบนของผนังเป็นหน้าต่างกระจกบานหมุนที่สามารถพลิกเปิด – ปิดได้ ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี และดูโปร่งขึ้นก็สามารถพักผ่อนได้อย่างไม่อึดอัด








4. พักผ่อนในห้องนอนสไตล์ญี่ปุ่น ด้วยการยกระดับพื้นขึ้นมา 15 – 20 ซม. ปูพื้นด้วยเสื่อตาตามิที่สั่งทำมาเป็นแผ่นให้พอดีกับพื้นที่แล้ววางฟูกนอน กับพื้น ใช้หน้าต่างบานเกล็ดไม้ปรับแสงแทนผ้าม่าน ก็ให้ความรู้สึกเรียบง่ายและผ่อนคลายแบบเป็นธรรมชาติ

5. พักผ่อนด้วยการอาบน้ำให้ชุ่มฉ่ำ ด้วยการทำหลังคาสกายไลท์ ทำ Rain Shower ด้วยแผ่นอะคริลิกใสที่ทำเป็นกระบะ เจาะรูให้น้ำไหลลงมาเป็นสายฝน แคนั้นก็สามารถอาบน้ำใต้แสงแดดอุ่นๆ ได้อย่างสบายอารมณ์ พร้อมกรุพื้นและผนังด้วยไม้ธรรมชาติให้รู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น

6. ทำมุมเคาน์เตอร์บาร์ที่เน้นความโปร่งสบายไว้สังสรรค์ ด้วยการทำผนังกั้นห้องด้วยกระจกฝ้า ติดชั้นสำเร็จรูปไว้กับกรอบวงกบ (แต่ไม่ควรวางของหนัก) ให้มีระดับสูงต่ำต่างกันเพื่อความสวยงาม พร้อมทั้งทำเคาน์เตอร์ด้วยเหล็กกล่องและไม้อัดพ่นสีดำ ขึงลวดสลิงตกแต่งดูเท่ และโปร่งตา

7. ดึงความสดชื่นมาไว้ในห้องนั่งเล่น ด้วยการทำมุมนั่งเล่นไว้ริมหน้าต่างกระจกแล้วปลูกไม้พุ่มริมผนังให้สูง 80 ซม. ก็สามารถมองเห็นต้นไม้สีเขียวสดชื่นจากภายในห้อง โดยไม่ต้องปลูกต้นไม้ในบ้านให้ลำบาก และยังดูโปร่งสบายตาอีกด้วย

8. เพิ่มมุมน่ามองให้ห้องรับประทานอาหาร ด้วยการเปลี่ยนผนังทึบเป็นผนังกระจก แล้วทำแผงไม้ระแนงด้านนอกให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 60 ซม. เพื่อให้สามารถเดินเข้าไปดูแลได้ พร้อมปลูกไม้เลื้อยและแขวนไม้ประดับให้ดูชุ่มชื่น ก็ช่วยให้ดูสบายตาและยังคงรู้สึกเป็นส่วนตัวเหมือนเดิม

9. ทำห้องเล่นพูล สำหรับคนรักการพักผ่อนด้วยการทำกิจกรรม โดยเตรียมห้องขนาด 5.30 x 7.00 ม. เพื่อให้เล่นได้สะดวก หรือทำผนังห้องเป็นประตูบานเลื่อนที่สามารถเปิดได้กว้าง เพื่อขยายพื้นที่ห้องให้กว้างขึ้น แล้วยังสามารถปิดประตูไม่ให้รบกวนส่วนอื่นของบ้านได้ด้วย

10. ออกแบบหน้าบ้าน ให้เป็นมุมนั่งเล่นรับลมแบบเปิดโล่งไว้ริมสระว่ายน้ำ ด้วยการเลือกใช้ เฟอร์นิเจอร์ที่ดูโปร่งน่านั่ง แล้วติดผ้าม่านสีขาวโดยรอบเพื่อช่วยบังแสงแดดยามบ่าย และดูพลิ้วไหวให้ความรู้สึกเบาสบายยิ่งขึ้น

11. เพิ่มความสดใสและความเข้มขรึม ด้วยการติดเฟรมภาพเพ้นท์ศิลปะขนาดใหญ่โทนสีฟ้า และสีส้มบนผนัง ซึ่งออกแบบให้เลื่อนได้และใช้แทนประตูกั้นห้อง พร้อมแต่งห้องด้วยพื้นไม้สีเข้ม เฟอร์นิเจอร์หนัง และแชนเดอเลีย ที่ผสมผสานทั้งสองอารมณ์ให้มีเสน่ห์น่าประทับใจ

12.สร้างมุมพักผ่อนแบบเป็นกันเอง ด้วยการใช้เก้าอี้เปลแทนโซฟา และทำพื้นไม้ยกระดับสูง 40 ซม. วางเบาะรองนั่งแบบยาวที่ใช้ได้ทั้งนั่งและนอนเล่น พร้อมปูพรมนุ่มๆ ให้รู้สึกสบายเหมือนพักในบ้านตากอากาศ

มารยาทไทย

ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย ตามคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้

ความหมาย มารยาท

“ มารยาท ” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ

ขอบข่าย มารยาทไทย

มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ

ลำดับความสำคัญมารยาทไทย

มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้

๑ การแสดงความเคารพ ๒ การยืน ๓ การเดิน ๔ การนั่ง ๕ การนอน
๖ การรับของส่งของ ๗ การแสดงกิริยาอาการ ๘ การรับประทานอาหาร ๙ การให้และรับบริการ ๑๐ การทักทาย
๑๑ การสนทนา ๑๒ การใช้คำพูด ๑๓ การฟัง ๑๔ การใช้เครื่องมือสื่อสาร ๑๕ การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ

การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล
ความหมายของการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
1. เพื่อช่วยชีวิต
2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
ขอบเขตและหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาล
ผู้ปฐมพยาบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น จะหมดหน้าที่เมื่อผู้บาดเจ็บปลอดภัยหรือได้รับการรักษาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลแล้ว ขอบเขตหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาลมี 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือได้ถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้
1.1 ซักประวัติของอุบัติเหตุ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี
1.2 ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากที่บริเวณใด ฯลฯ
1.3 ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การปฐมพยาบาล โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม บาดแผล กระดูกหัก เป็นต้น
2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยช่วยเป็นลำดับขั้นดังนี้
2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออก