จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

AD Corruption Censored.wmv

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รัฐธรรมนูญ


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย[1]
_______________
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการประกาศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม
เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน
จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป
ขอปวงชนชาวไทยจงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์ พิพัฒนชัยมงคล อเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพร แก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ

วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
หมวด ๑ บททั่วไป (มาตรา ๑ - ๗)
หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ (มาตรา ๘ - ๒๕)
หมวด ๓ สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา ๒๖ - ๖๙)
หมวด ๔ หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา ๗๐ - ๗๔)
หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา ๗๕ - ๘๗)
หมวด ๖ รัฐสภา (มาตรา ๘๘ - ๑๖๒)
หมวด ๗ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา ๑๖๓ - ๑๖๕)
หมวด ๘ การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา ๑๖๖ - ๑๗๐)
หมวด ๙ คณะรัฐมนตรี (มาตรา ๑๗๑ - ๑๙๖)
หมวด ๑๐ ศาล (มาตรา ๑๙๗ - ๒๒๘)
หมวด ๑๑ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๒๙ - ๒๕๘)
หมวด ๑๒ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา ๒๕๙ - ๒๗๘)
หมวด ๑๓ จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา ๒๗๙ - ๒๘๐)
หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๒๘๑ - ๒๙๐)
หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๙๑)
บทเฉพาะกาล (มาตรา ๒๙๒ - ๓๐๙)
(ดูรวมทุกหมวดในหน้าเดียว)
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
มีชัย ฤชุพันธุ์
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
[แก้ไข] เชิงอรรถ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔๗ ก/หน้า ๑/๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐

งานนี้ไม่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามความใน มาตรา ๗ แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ เนื่องจากบางส่วนหรือทุกส่วนของงานนี้เป็น
(๑) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(๒) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(๓) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(๔) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(๕) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (๑) ถึง (๔) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
รับข้อมูลจาก "http://th.wikisource.org
หมวดหมู่: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎระเบียบที่เริ่มบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2550 กฎระเบียบที่ยังบังคับใช้อยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น