จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

AD Corruption Censored.wmv

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กีฬา


กีฬา ประกอบด้วยกิจกรรมปกติหรือทักษะที่อยู่ภายใต้กติกาซึ่งถูกกำหนดโดยความเห็นที่ตรงกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อน การแข่งขัน ความเพลิดเพลิน ความสำเร็จ การพัฒนาของทักษะ หรือหลายสิ่งรวมกัน กีฬาเป็นกิจกรรมที่ควบคู่กับการแข่งขัน และระบบคะแนน
กีฬาหลายประเภทได้มีการจัดการแข่งขันในระดับเขต ประเทศ และระดับโลก ซึ่งกีฬาหลายชนิดได้มีการใส่เข้าและนำออกโดยการปรับปรุงของทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เช่น รักบี้ ลาครอสส์ หรือ โปโล[1]
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ชนิดของกีฬา
1.1 การแข่งขันความเร็ว
1.2 การแข่งเป็นคู่แข่งขัน
1.3 การบรรลุผล
1.4 แบ่งตามประเภทอื่นๆ
2 กีฬาเพื่อสุขภาพ
3 อ้างอิง
4 ดูเพิ่ม
5 แหล่งข้อมูลอื่น
//
[แก้] ชนิดของกีฬา
[แก้] การแข่งขันความเร็ว
ประเภทไม่ใช้อุปกรณ์ (ว่ายน้ำ วิ่ง...)
ประเภทมีอุปกรณ์ (จักรยาน พายเรือ พายเรือแคนู พายเรือคายัค ...)
ประเภทกำลังจากภายนอก (แข่งรถ ล่องเรือ เรือเร็ว...)
[แก้] การแข่งเป็นคู่แข่งขัน
ประเภทต่อสู้ (ยูโด คาราเต้ มวย ฟันดาบ กีฬาฟันดาบไทย เทควันโด นินจุสสุ การต่อสู้แบบผสมผสาน)
ประเภทสนาม (เทนนิส แบดมินตัน วอลเลย์บอล สควอช ปิงปอง...)
ประเภททีม (เบสบอล และ ฟุตบอล เป็นที่นิยมทั่วโลก เบสบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในอเมริกาและญี่ปุ่น ส่วนฟุตบอลเป็นที่นิยมทั่วไป รักบี้ ฮอกกี้น้ำแข็ง ฮอกกี้ซอฟต์บอล เคอร์ลิง...)
[แก้] การบรรลุผล
ประเภทเป้าหมาย (ยิงธนู ยิงปืน ...)
ประเภทการแสดง (ยิมนาสติก ต่อตัว ขี่ม้า โต้คลื่น ดำน้ำ วูซู สเก็ตน้ำแข็ง สเก็ตลีลา...)
ประเภทความแข็งแรง (ยกน้ำหนัก กระโดดไกลสามจังหวะ ทุ่มน้ำหนัก ...)
[แก้] แบ่งตามประเภทอื่นๆ
เพนท์บอล กระบี่-กระบอง เชียร์ลีดเดอร์ ...
[แก้] กีฬาเพื่อสุขภาพ
จะเป็นการเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายจะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เช่น
โยคะ
เดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ
กายบริหาร
แอโรบิคด๊านซ์
เต้นรำ
ดิสโก
เปตอง
[แก้] อ้างอิง
^ Olympic Sports of the Past
[แก้] ดูเพิ่ม
การแข่งขันกีฬาสำคัญ
กีฬาโอลิมปิก
กีฬาเอเชียนเกมส์
กีฬาซีเกมส์
กีฬาฟุตบอลโลก
กีฬาเอเชี่ยนบีชเกมส์
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
การกีฬาแห่งประเทศไทย
กฎและกติการกีฬา

กีฬา เป็นบทความเกี่ยวกับ กีฬา นักกีฬา หรือ ทีมกีฬา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้นข้อมูลเกี่ยวกับ กีฬา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่โครงการทุกอย่างเกี่ยวกับกีฬา

การบินในอวกาศ


ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด (อังกฤษ: Goddard Space Flight Center; GSFC) เป็นห้องทดลองด้านอวกาศที่สำคัญแห่งหนึ่งขององค์การนาซา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1959 เป็นศูนย์การบินอวกาศแห่งแรกของนาซา มีเจ้าหน้าที่พลเรือนประมาณ 10,000 คน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ห่างออกไปประมาณ 6.5 ไมล์ ในเขตเมืองกรีนเบลท์ รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา
ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดซึ่งรวบรวมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรมาไว้ด้วยกันเพื่อศึกษาเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับโลก ระบบสุริยะ และเอกภพ โดยอาศัยการสังเกตการณ์ผ่านอุปกรณ์สังเกตการณ์ในอวกาศ รวมถึงเป็นห้องทดลองในการวิจัยพัฒนาและควบคุมการทำงานของยานอวกาศสำหรับงานวิทยาศาสตร์ที่ไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุม นอกเหนือจากงานวิจัยเกี่ยวกับอวกาศ ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดยังศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนภารกิจการปฏิบัติงานในอวกาศรวมถึงการออกแบบและสร้างยานอวกาศด้วย นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดคนหนึ่งคือ จอห์น ซี. เมเทอร์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 2006 จากผลงานการสร้างดาวเทียม COBE
ชื่อ "ก็อดเดิร์ด" ตั้งเป็นอนุสรณ์แก่ ดร. โรเบิร์ต เอช. ก็อดเดิร์ด (Robert H. Goddard) ผู้ริเริ่มการใช้งานจรวดสมัยใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยแห่งนี้ มีคนไทยทำงานเป็นวิศวกร และ นักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหมด 3 คน ได้แก่ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรด้านคลื่นไมโครเวฟรับส่งสัญญาณ

ประวัติของพระนเรศวรมหาราช



สมเด็จพระนเรศวรมหาราชข้อมูลส่วนพระองค์ พระปรมาภิไธย สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ วันพระราชสมภพ พ.ศ. ๒๐๙๘ วันสวรรคต ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชบิดา สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชมารดา พระวิสุทธิกษัตรีย์ การครองราชย์ ราชวงศ์ ราชวงศ์สุโขทัย ทรงราชย์ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ ระยะเวลาครองราชย์ ๑๕ ปี รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช รัชกาลถัดมา สมเด็จพระเอกาทศรถ
พระบาทสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ (พระนเรศวรมหาราช) มีพระนามเดิมว่าพระองค์ดำพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช พระนเรสส องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช เป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ รวมพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษาราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิคทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐพระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไปปราบศัตรูของชาติไทย นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมา ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทอดทูลไว้เหนือเกล้า ฯ ไปตราบชั่วกาลนาน
พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์กับชีวิตและการศึกษาในหงสาวดี
ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง ๙พรรษานอกจากพระองค์แล้วยังมีองค์ประกันจากเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเป็นจำนวนมาก พระเจ้าบุเรงนองนั้นทรงให้เหล่าองค์ประกันได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอย่างดี พระนเรศวรทรงใช้เวลา ๘ปีเต็มในหงสาวดีศึกษายุทธศาสตร์ของพม่า พระองค์ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาวต่างชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี เช่น ชาวโปรตุเกส สเปน หรือชาวพม่าเอง ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ ได้แก่ การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีการรบแบบกองโจร พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ ความเด็ดขาดในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด เนื่องจากการที่พระองค์มีชีวิตอยู่ในฐานะองค์ประกันทำให้ทรงมีความกดดันสูงจากมังกะยอชวา (พระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง) จึงทรงมีแรงผลักดันที่จะกอบกู้อิสรภาพให้กับบ้านเมืองของพระองค์ เช่น จากการชนไก่ของพระองค์กับมังกะยอชวา เป็นต้น รวมทั้งการเหยียดหยามว่าเป็นเชลย จากพวกพม่าด้วย
ดำรงยศเป็นพระมหาอุปราช หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีต่อไป หลังจากนั้น พระนเรศได้หนีกลับมาไทยโดยที่บุเรงนองยินยอมด้วยอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาได้ขอไว้ โดยที่บุเรงนองยินยอม หลังจากที่พระองค์ดำกลับมากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่า พระนเรศวร และโปรดเกล้าฯให้เป็นพระมหาอุปราชไปปกครองเมืองพิษณุโลก ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา
การประกาศอิสรภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมือง พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วย ทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชา คุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับ และหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยาราม คุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยาราม เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่อง ผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวร เคยรู้จักชอบพอกันมาก่อนกองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้า ฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสาร จึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม กราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็ทรงมีพระดำริเห็นว่า การเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยาราม และทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง และพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่า แล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพ เมื่อจัดกองทัพเสร็จ ก็ทรงยกทัพจากเมืองแครง ไปยังเมืองหงสาวดี เมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน6ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติ พระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมัชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทย ที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อน ให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษ ให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลังฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรกวาดต้อนคนไทยกลับ จึงได้ให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า พระมหาอุปราชาเป็นกองหลวง ยกติดตามกองทัพไทยมา กองหน้าของพม่าตามมาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว และคอยป้องกันมิให้ข้าศึกข้ามตามมาได้ ได้มีการต่อสู้กันที่ริมฝั่งแม่น้ำ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ ยิงถูกสุรกรรมา แม่ทัพหน้าพม่าตายบนคอช้าง กองทัพของพม่าเห็นแม่ทัพตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป เมื่อพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบ จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดีพระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฏต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึงเมืองแครง ทรงดำริว่าพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติพระยารามได้มีอุปการะมาก สมควรได้รับการตอบแทนให้สมแก่ความชอบ จึงทรงชักชวนให้มาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา พระมหาเถรคันฉ่องกับพระยามอญ ที้งสองก็มีความยินดี พาพรรคพวกสเด็จเข้ามาด้วยเป็นอันมาก ในการยกกำลังกลับครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเกรงว่า ข้าศึกอาจยกทัพตามมาอีก ถ้าเสด็จกลับทางด่านแม่ละเมา มีกองทัพของนันทสูราชสังครำตั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร จะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง พระองค์จึงรีบสั่งให้พระยาเกียรติ พระยาราม นำทัพเดินผ่านหัวเมืองมอญลงมาทางใต้ มาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พวกมอญที่สวามิภักดิ์ ทรงตั้งพระมาหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชา ที่สมเด็จอริยวงศ์ และให้พระยาเกียรติ พระยารามมีตำแหน่งยศ ได้พระราชทานพานทอง ควบคุมมอญที่เข้ามาด้วย ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้น และวัดขุนแสนใกล้วังจันทร์ของสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงมอบการทั้งปวงที่จะตระเตรียมต่อสู้ข้าศึก ให้สมเด็จพระนเรศวรทรงบังคับบัญชาสิทธิขาดแต่นั้นมา
ยุทธหัตถี นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบการสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระแสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง
สวรรคต พ.ศ. ๒๑๓๗ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็ให้พระเจ้าแปรมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ก็แตกทัพกลับไป พ.ศ. ๒๑๔๒ เสด็จฯออกไปตีกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอู กองทัพอยุธยาตามไปถึงเมืองตองอูแต่ขาดเสบียง พ.ศ. ๒๑๔๗ ยกกองทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นายออกจากกรุงศรีอยุธยาไปตีกรุงอังวะ ผ่านทางเมืองเชียงใหม่ โดยแรมทัพอยู่ที่เมือง เชียงใหม่เป็นเวลา ๑ เดือน ระดมทหารในดินแดนล้านนาสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ นาย และทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเอกาทศรถเป็นทัพหน้าออกเดินทางไปรับไพร่พลทหารล้านนาที่ เมืองฝาง (อำเภอฝาง เชียงใหม่) หลังจากนั้นกองทัพหลวงจึงกรีฑาทัพออกจากเมืองเชียงใหม่ไปยัง เมืองนายและกรุงอังวะ ครั้นกองทัพหลวงเดินทัพอยู่ระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำ สาละวิน ครั้นถึง เมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่และเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขตในสมัยนั้น เมื่อปลายเดือน ๕ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๔๘ ได้เสด็จฯ ประทับแรมอยู่ ณ ตำบลทุ่งดอนแก้ว (ขณะที่กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถอยู่ที่เมืองฝางหรืออำเภอฝาง เชียงใหม่) เกิดประชวรเป็นหัวระลอกขึ้น (บ้างว่าถูกตัวสัตว์พวกแมลงมีพิษต่อย) ที่พระพักตร์แล้วเลยเป็นบาดพิษจนเสด็จสวรรคต ณ เมืองห้างหลวง หรือ เมืองหางวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๑๔๘ เรื่องวัน สวรรคตนี้มีรายละเอียดกล่าวต่างกัน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า เสด็จสวรรคตวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลาชายแล้ว ๒ บาท ปีมะเส็ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางประวัติ ศาสตร์คำนวณแล้วตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ ในหนังสือ A History of Siam ของ W.A.R. Wood กล่าวว่าสวรรคตวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๖๐๕ (พ.ศ. ๒๑๔๘) พระชันษาได้ ๕๐ ปี เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี
พระราชกรณียกิจพ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี จนมังกะยอชวา สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ พ.ศ. 2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ โดยยกทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นาย ออกจากอยุธยา ไปทางเมืองเชียงใหม่ และแรมทัพในเชียงใหม่ ๑ เดือน เพื่อรอการระดมทหารล้านนาเข้าสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ คนเมื่อยกทัพหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยัง เมืองนาย ครั้นกรีฑาทัพช่วงระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน และไปถึงเมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง ก็ทรงพระประชวรโดยเร็วพลัน เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ และเสด็จสวรรคต ณ เมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในวัฒนธรรมร่วมสมัยพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรีตราประจำจังหวัดของไทยที่มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดหนองบัวลำภู มีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในหลายแห่งทั่วประเทศ เช่น พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ริมหนองบัวลำภู ในจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นต้น มีการนำพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราขไปตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนเรศวร และค่ายทหารต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น ค่ายนเรศวร ที่จังหวัดลพบุรี ค่ายนเรศวรมหาราช ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนทางกรมตำรวจได้นำพระนามของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อค่ายตำรวจตระเวนชายแดนที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีว่า "ค่ายนเรศวร" ด้วยเช่นกัน ชาวไทยนิยมนำหุ่นรูปไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาวไปบนบานกับพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะเชื่อกันว่าเป็นไก่พันธุ์เดียวกับตัวที่เอาชนะไก่ชนของพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีได้ ในประเทศไทยได้มีการนำพระราชประวัติมาสร้างเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง ครั้งแรก ใช้ชื่อว่า มหาราชดำ ในปี พ.ศ. 2522 และครั้งที่ 2 ใช้ชื่อว่า ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปี พ.ศ. 2550 เคยมีการสร้างละครเรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2531 ทางไทยทีวีสีช่อง 3 และได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำในปีนั้นถึง 5 รางวัล[2] ภายหลังมีการนำละครเรื่องนี้มาฉายใหม่ทางช่อง สทท.11 อีกครั้ง (ประมาณ พ.ศ. 2540) ไม้ เมืองเดิม ได้นำเหตุการณ์ในสมัยนี้ไปใช้เป็นฉากในนวนิยายเรื่อง ขุนศึก ซึ่งตัวเอกของเรื่องคือ เสมา ทหารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรซึ่งมีชาติกำเนิดเป็นช่างตีเหล็ก นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เช่นกัน มีการนำพระราชประวัติของพระองค์ไปเขียนเป็นหนังสือการ์ตูนอยู่หลายครั้ง เช่น มหากาพย์กู้แผ่นดิน ผลงานของมนตรี คุ้มเรือน เป็นต้น ได้มีการสร้างตำนานสมเด็จพระนเรศวรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อว่า กษัตริยา ควบคู่กับ มหาราชกู้แผ่นดิน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ใน พ.ศ. 2542 โดยบริษัท กันตนา จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการ ออกฉายทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในช่วงปี พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2546

ประวัติของพ่อขุนรามคําแหง




ประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรส ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า "พระรามคำแหง" เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมืองแล้ว พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ.๑๘๖๐ รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรวมเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
พระเจ้ารามคำแหงมหาราช เมื่อแรกตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น อาณาเขตยังไม่กว้างขวางเท่าใดนัก เขตแดนทางทิศใต้จดเพียงเมืองปากน้ำโพ ใต้จากปากน้ำโพลงมายังคงเป็นอาณาเขตของขอมอันได้แก่เมืองละโว้ ทางฝ่ายตะวันตกจดเพียงเขาบันทัด ทางเหนือมีเขตแดนติดต่อกับประเทศลานนาที่ภูเขาเขื่อน ส่วนทางตะวันออกก็จดอยู่เพียงเขาบันทัดที่กั้นแม่น้ำสักกับแม่น้ำน่าน อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ก็ได้กระทำสงครามเพื่อขยายเขตแดนของไทยออกไปอีกในทางโอกาสที่เหมาะสม ดังที่มีข้อความปรากฏอยู่ในศิลาจารึกว่า พระองค์ได้เสด็จยกกองทัพไปดีเมืองฉอด ได้ทำการรบพุ่งตลุมบอนกันเป็นสามารถถึงขนาดที่พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเข้าเมืองฉอด แต่พระองค์เสียทีแก่ขุนสามชน แลในครั้งนี้เองที่เจ้ารามราชโอรสองค์เล็กของพระองค์ได้เริ่มมีบทบาทสำคัญด้วยการที่ทรงถลันเข้าช่วยโดยไสช้างทรงเข้าแก้พระราชบิดาไว้ทันท่วงที แล้วยังได้รบพุ่งตีทัพขุนสามชนเข้าเมืองฉอดแตกพ่ายกระจายไป พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ พระราชบิดาจึงถวายพระนามโอรสองค์เล็กนี้ว่า “เจ้ารามคำแหง” พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ทรงครองอาณาจักรสุโขทัยอยู่จนถึงประมาณปี 1881 จึงเสด็จสวรรคต พระองค์มีพระโอรสพระองค์ด้วยกัน โอรสองค์ใหญ่พระนามไม่ปรากฎเพราะได้สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่เยาว์วัย องค์กลางทรงพระนามว่า “ขุนบาลเมือง” องค์เล็กทรงพระนามว่า “เจ้าราม” และต่อมาได้รับพระราชทานใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง” หลังจากตีทัพขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดแตกพ่ายไป เมื่อพระเจ้าศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้วโอรสองค์กลางขุนบาลเมือง ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมาอีกประมาณ 9 ปี ก็เสด็จสวรรคต พระราชอนุชา คือ เจ้ารามคำแหง จึงได้เสวยราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้ารามคำแหง พระเจ้ารามคำแหง จะมีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏชัดแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้ทรงสันนิษฐานว่า คงจะเรียกกันว่า “เจ้าราม” แลเมื่อเจ้ารามมีพระชนมายุได้ 19 ชรรษา ได้ตามสมเด็จพระราชบิดาไปทำศึกกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและได้ทรงแสดงความเก่งกล้าในทาสไสช้างทรงเข้าแก้เอาพระราชบิดาไว้ได้ทั้งตีทัพขุนสามชนแตกพ่ายไปแล้วพระราชบิดาจึงถวายพระนามเสียใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง” พระเจ้ารามคำแหง ทรงเป็นมหาราชองค์ที่สองของชาวไทย และทรงเป็นมหาราชพระองค์เดียวในสมัยสุโขทัย พระองค์ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ทรงชำนาญทั้งในด้านการรบ การปกครอง และการศาสนา พระองค์ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลด้วยวิเทโศบายอันแยบยลสุขุมคัมภีรภาพทั้งทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความยุติธรรมได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า ซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์เป็นอันดับไปดังต่อไปนี้
การขยายอาณาจักร
เมื่อพระเจ้ารามคำแหง เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติสืบต่อจากพ่อขุนบาลเมืองนั้น อาณาจักรสุโขทัยนับว่าตกอยู่ในระหว่างอันตรายรอบด้าน และยากทำการขยายอาณาจักรออกไปได้ เพราะทางเหนือก็ติดต่อกับแคว้นลานนา อันเป็นเชื้อสายไทยด้วยกันมีพระยาเม็งรายเป็นเจ้าเมืองเงินยางและพระยางำเมือง เป็นเจ้าเมืองพะเยาและทั้งพระยาเม็งรายและพระยางำเมือง ขณะนั้นต่างก็มีกำลังอำนาจแข็งแกร่งทั้งคู่ ทางตะวันออกนั้นเล่าก็ติดต่อกับดินแดนของขอม ซึ่งมีชาวไทยเข้าไปตั้งภูมิลำเนาอยู่มาก ตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัยก็จดเขตแดนมอญและพม่า ส่วนทางใต้ก็ถูกเมืองละโว้ของขอมกระหนาบอยู่ ด้วยเหตุนี้พระเจ้ารามคำแหงจึงต้องดำเนินวิเทโศบายในการแผ่อาณาจักรอย่างแยบยล และสุขุมที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการฆ่าฟันระหว่างคนไทยด้วยกันเอง คือแทนที่จะขยายอาณาเขตไปทางเหนือ หรือตะวันออกซึ่งมีคนตั้งหลักแหล่งอยู่มาก พระองค์กลับทรงตัดสินพระทัยขยายอาณาเขตลงไปทางใต้อันเป็นดินแดนของขอม และทางทิศตะวันตกอันเป็นดินแดนของมอญ เพื่อให้คนไทยในแคว้นลานนาได้ประจักษ์ในบุญญาธิการ และได้เห็นความแข็งแกร่งของกองทัพไทยแห่งอาณาจักรสุโขทัยเสียก่อน แล้วไทยในแคว้นลานนาก็อาจจะมารวมเข้าด้วยต่อภายหลังได้โดยไม่ยาก แต่แม้จะได้ตกลงพระทัย ดังนั้น พระเจ้ารามคำแหงก็ยังคงทรงวิตกอยู่ในข้อที่ว่าถ้าแม้ว่าพระองค์กรีฑาทัพขยายอาณาเขตลงไปสู้รบกับพวกขอมทางใต้แล้วพระองค์อาจจะถูกศัตรูรุกรานลงมาจากทางเหนือก็ได้ บังเอิญในปี พ.ศ. 1829 กษัตริย์ในราชวงศ์หงวนได้ส่งฑูตเข้ามาขอทำไมตรีกับไทย พระองค์จึงยอมรับเป็นไมตรีกับจีน เพื่อป้องกันมิให้กองทัพจีนยกมารุกรานเมื่อพระองค์ยกทัพไปรบเขมร พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพยายามสร้างความสนิทสนมกับไทยลานนาเช่นได้เสด็จด้วยพระองค์เองไปช่วยพระยาเม็งราย สร้างราชธานีที่นครเชียงใหม่เป็นต้น แหละเมื่อเห็นว่าสัมพันธไมตรีทางเหนือมั่นคงแล้ว พระองค์จึงได้เริ่มขยายอาณาจักรสุโขทัยลงไปทางใต้ตามลำดับ คือ ใน พ.ศ. 1823 ทรงตีได้เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองต่างๆ ในแหลมลายูตลอดรวมไปถึงเมืองยะโฮร์ และเกาะสิงคโปร์ในปัจจุบันนี้ ใน พ.ศ. 1842 ตีได้ประเทศเขมร (กัมพูชา) ส่วนทางทิศตะวันตกที่มีอาณาเขตจดเมืองมอญนั้นเล่าพระเจ้ารามคำแหงก็ได้ดำเนินการอย่างสุขุมรอบคอบเช่นเมื่อได้เกิดความขึ้นว่า มะกะโท อำมาตย์เชื้อสายมอญ ซึ่งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและได้มารับราชการใกล้ชิดพระองค์ได้กระทำความผิดชั้นอุกฤติโทษ โดยลักพาเอาพระธิดาของพระองค์หนีกลับไปเมืองมอญ แทนที่พระองค์จะยกทัพตามไปชิงเอาตัวพระราชธิดาคืนมา พระองค์กลับทรงเฉยเสียด้วยได้ทรงคาดการณ์ไกล ทรงมั่นพระทัยว่า มะกะโท ผู้นี้คงจะคิดไปหาโอกาสตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองมอญ ซึ่งถ้าเมื่อมะกะโทได้เป็นใหญ่ในเมืองมอญก็เปรียบเสมือนพระองค์ได้มอญมาไว้ในอุ้มพระหัตถ์ โดยไม่ต้องรบราฆ่าฟันกันให้เสียเลือดเนื้อ ซึ่งต่อมาการณ์ก็ได้เป็นไปตามที่ได้ทรงคาดหมายไว้ คือมะกะโท ได้เป็นใหญ่ครอบครองอาณาจักรมอญทั้งหมด แลได้เข้าสามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัย โดยพระเจ้ารามคำแหงมิต้องทำการรบพุ่งประการใดพระองค์ได้เสด็จไปทำพิธีราชภิเษกให้มะกะโท และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “พระเจ้าฟ้ารั่ว” ด้วยวิเทโศบายอันชาญฉลาด สุขุมคัมภีรภาพของพระองค์นี้เอง จึงเป็นผลให้อาณาจักรไทยในสมัยพระเจ้ารามคำแหงแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ปรากฎตามหลักศิลาจารึกว่าทางทิศใต้จดแหลมมลายูทิศตะวันตกได้หัวเมืองมอญทั้งหมด ได้จดเขตแดนหงสาวดี จดอ่าวเบงคอล ทิศตะวันออกเฉียงใต้ประเทศเขมร มีเขตตั้งแต่สันขวานโบราณไปจดทะเลจีน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้เมืองน่าน เมืองหลวงพระบางทั้งเวียงคำฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทิศเหนือมีอาณาเขตจดเมืองลำปาง กล่าวได้ว่าเป็นครั้งตั้งแต่ตั้งอาณาจักรไทยที่ได้แผ่นขยายอาณาเขตไปได้กว้างขวางถึงเพียงนั้น
การทำนุบำรุงบ้านเมือง
เมื่อได้ทรงขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่างกว้างขวางดังกล่าวแล้วพระเจ้ารามคำแหง ยังได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองอีกเป็นอันมาก เช่นได้ทรงสนับสนุนในทางการค้าพานิช เลิกด่านเก็บภาษีอากรและจังกอบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนไปมาค้าขายกันได้โดยสะดวกได้ยิ่งขึ้น ได้ส่งเสริมการทำอุตสาหกรรมทำเครื่องถ้วยชาม ถึงกับได้เสด็จไปดูการทำถ้วยชามในประเทศจีนถึงสองครั้ง แล้วนำเอาช่างปั่นถ้วยชามชาวจีนเข้ามาด้วยเป็นอันมาก เพื่อจะได้ให้ฝึกสอนคนไทยให้รู้จักวิธีทำถ้วยชามเครื่องเคลือบดินเผาต่างๆ ซึ่งปรากฏว่าได้เจริญรุ่งเรืองมากในระยะนั้น ในด้านทางศาลก็ให้ความยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรโดยทั่วถึงกันไม่เลือกหน้าทรงเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ถึงกับสั่งให้เจ้าพนักงานแขวนกระดิ่งขนาดใหญ่ไว้ที่ประตูพระราชวังด้านหน้าแม้ใครมีทุกข์ร้อนประการใดจะขอให้ทรงระงับดับเข็ญแล้วก็ให้ลั่นกระดิ่งร้องทุกข์ได้ทุกเวลา ในขณะพิจารณาสอบสวนและตัดสินคดี พระองค์ก็เสด็จออกฟังและตัดสินด้วยพระองค์เองไปตามความยุติธรรม แสดงความเมตตาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเสมือนบิดากับบุตรทรงชักนำให้ศาสนาประกอบการบุญกุศล ศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระองค์เองทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกได้ทรงสร้างแท่นมนังศศิลาไว้ที่ดงตาล สำหรับให้พระสงฆ์แสดงธรรมและบางครั้งก็ใช้เป็นที่ประทับว่าราชการแผ่นดิน
การปกครอง
ลักษณะการปกครองในสมัยของพระเจ้ารามคำแหงหรือราษฎรมักเรียกกันติดปากว่าพ่อขุนรามคำแหงนั้น พระองค์ได้ทรงถือเสมือนหนึ่งว่าพระองค์เป็นบิดาของราษฎรทั้งหลาย ทรงให้คำแนะนำสั่งสอน ใกล้ชิดเช่นเดียวกับบิดาจะพึงมีต่อบุตร โปรดการสมาคมกับไพร่บ้านพลเมืองไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้ว่าใครจะถวายทูลร้องทุกข์ประการใดแล้ว ก็อนุญาตให้เข้าเฝ้าใกล้ชิดได้ไม่เลือกหน้าในทุกวันพระมักเสด็จ ออกประทับยังพระแท่นศิลาอาสน์ ทำการสั่งสอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม ในด้านการปกครองเพื่อความปลอดภัยและมั่นคงของประเทศนั้นพระองค์ทรงถือว่าชายฉกรรจ์ที่มีอาการครบ 32 ทุกคนเป็นทหารของประเทศ พระเจ้าแผ่นดินทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ข้าราชการก็มีตำแหน่งลดหลั่นเป็นนายพล นายร้อย นายสิบ ถัดลงมาตามลำดับ ในด้านการปกครองภายใน จัดเป็นส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอกและเมืองประเทศราชสำหรับหัวเมืองชั้นใน มีพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ปกครองโดยตรง มีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) เป็นเมืองอุปราช มีเมืองทุ่งยั้งบางยม สองแคว (พิษณุโลก) เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) และเมืองตากเป็นเมืองรายรอบ สำหรับหัวเมืองชั้นนอกนั้น เรียกว่าเมืองพระยามหานคร ให้ขุนนางผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครองมีเมืองใหญ่บ้างเล็กบ้าง เวลามีศึกสงครามก็ให้เกณฑ์พลในหัวเมืองขึ้นของตนไปช่วยทำการรบป้องกันเมือง หัวเมืองชั้นนอกในสมัยนั้น ได้แก่ เมืองสรรคบุรี อู่ทอง ราชบุรี เพชรบุรี ตะนาวศรี เพชรบูรณ์ แลเมืองศรีเทพ ส่วนเมืองประเทศราชนั้น เป็นเมืองที่อยู่ชายพระราชอาณาเขตมักมีคนต่างด้าวชาวเมืองเดิมปะปนอยู่มาก จึงได้ตั้งให้เจ้านายของเขานั้นจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทองทุกปี แลเมื่อเกิดศึกสงครามจะต้องถล่มทหารมาช่วย เมืองประเทศราชเหล่านี้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช มะละกา ยะโฮร์ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน หลวงพระบาง เวียงจันทร์ และเวียงคำ
การวรรณคดี
นอกจากจะได้ทรงขยายอาณาเขตของไทย ทางปกครองทำนุบำรุงบ้านเมือง และจัดระบบการปกครองที่เป็นระเบียบเรียบร้อยดังกล่าวแล้ว พระเจ้ารามคำแหงยังได้ทรงสร้างสิ่งที่คนไทยจะลืมเสียมิได้อีกอย่างหนึ่ง สิ่งนั้น ได้แก่ การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นอันเป็นรากฐานของหนังสือไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ตามหลักฐานปรากฎว่าพระองค์ได้ทรงคิดอักษรไทยขึ้นใช้เมื่อปี พ.ศ. 1826 กล่าวกันว่าได้ดัดแปลงมาจากอักษรคฤนถ์อันเป็นอักษรที่ใช้กันอยู่ในอินเดียฝ่ายใต้ ตัวอักษรไทยซึ่งพระเจ้ารามคำแหงคิดขึ้นใช้ในสมัยนั้นตัวพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์จึงอยู่เรียงในบรรทัดเดียวกันหมด ดังจะดูได้จากแผ่นศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ต่อมาจึงได้มีผู้ค่อยคิดดัดแปลงให้วัฒนาในทางดี และสะดวกในการเขียนมากขึ้น เป็นลำดับ จนกระทั่งถึงอักษรไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
การศาสนา
ในสมัยพระเจ้ารามคำแหงนั้น ปรากฎว่าศาสนาพุทธได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมากเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก เช่นเมื่อมีคนไทยเดินทางไปยังเกาะลังกา เพื่อบวชเรียนตามลัทธิลังกาวงศ์ คือถือคติอย่างหินยาน มีพระไตรปิฎกเป็นภาษามคธ แล้วเข้ามาตั้งเผยแพร่พระพุทธศาสนาอยู่ที่เมืองนครธรรมราชนั้น พระเจ้ารามคำแหงยังได้เสร็จไปพบด้วยพระองค์เองแล้วนิมนต์พระภิกษุนั้นขึ้นมาตั้งให้เป็นสังฆราชกรุงสุโขทัย และได้บวชในคนไทยที่เลื่อมใสศรัทธาต่อมาตามลำดับ ต่อมาพระเจ้ารามคำแหงได้ทำไมตรีกับลังกาและได้พระพุทธสิหิงค์มาจากลังกา แลนับแต่นั้นมาคนไทยจึงได้นับถือลัทธิลังกาวงศ์สืบมา

ศิลาจารึก
ในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ได้มีการจัดทำศิลาจารึกขึ้นเป็นครั้งแรกแลนับว่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะถ้าพระองค์มิได้ทรงคิดอักษรไทยและทำศิลาจารึกไว้แล้ว คนไทยรุ่นต่อมาก็จะค้นคว้าหาหลักฐานในทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ได้ยากยิ่ง
หลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง
เพื่อให้ท่านผู้อ่าน ได้ทราบถึงความเป็นมาในการค้นพบหลักศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ข้าพเจ้าจึงขอคัดข้อความจากประชุมจารึกสยาม ภาคที่ 1 จารึกสุโขทัยซึ่งศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ เป็นผู้ชำระและแปลมาเสนอไว้ดังต่อไปนี้ เมื่อปีมะเส็ง เบญจศก ศักราช 1995 (พ.ศ.2376) เสด็จไปประพาสเมืองเหนือนมัสการเจดีย์ สถานต่างๆ ไปโดยลำดับประทับเมืองสุโขทัย เสด็จไปเที่ยวประพาสพบแผ่นศิลา(พระแท่นมนังคศิลา) แผ่นหนึ่ง เขาก่อไว้ริมเนินปราสาทเก่าหักพังอยู่เป็นที่นับถือกลังเกรงของหมู่มหาชน ถ้าบุคคลไม่เคารพเดินกรายเข้าไปใกล้ให้เกิดการจับไข้ไม่สบาย ทอดพระเนตรเห็นแล้วเสด็จตรงเข้าไปประทับแผ่น ณ ศิลานั้น ก็มิได้มีอันตราสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยอำนาจพระบารมี เมื่อเสด็จกลับวันสั่งให้ทำการชะลอลงมาก่อเป็นแท่นไว้ที่วัดราชาธิวาส ครั้งภายหลังเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว (รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ดำรัสสั่งให้นำไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสนาราม อนึ่งทรงได้เสาศิลาจารึกอักษรเขมรเสาหนึ่ง จารึกอักษรไทยโบราณเสาหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ที่นี่พบศิลาจารึกหลักนี้ไม่ปรากฎแน่ชัด แต่คิดว่าจารึกนี้คงจะใกล้ๆ กับพระแท่นมนังคศิลา เพราในจารึกหลักนี้ด้านที่สามมีกล่าวถึงพระแท่นมนังคศิลา ซึ่งทำให้คิดว่า ศิลาจารึกหลักนี้จะได้ในเวลาฉลองพระแท่นนั้น เพราะฉะนั้นศิลาจารึกหลักนี้คงจะอยู่ใกล้ๆ กับพระแท่นนั้น คือ บนเนินปราสาทนั้นเอง พระแท่นนั้น เมื่อชะลอลงมากรุงเทพฯ แล้ว เดิมเอาไว้ที่วัดราชาธิวาส ก่อทำเป็นแท่นที่ประทับไว้ตรงใต้ต้นมะขามใหญ่ ข้างหน้าพระอุโบสถ ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ได้โปรดให้เอามาก่อแทนประดิษฐานไว้ที่หน้าวิหารพระคันธาราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่มาจนถึงในรัชกาลปัจจุบันนี้ เมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเศกสมโภชใน พ.ศ. 2545 จึงโปรดให้ย้ายไปทำเป็นแท่นเศวตฉัตรราชบัลลังก์ ประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทปรากฎอยู่ในทุกวันนี้ ส่วนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้น ครั้นพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดให้ส่งหลักศิลานั้นมาด้วย ภายหลังเมื่อได้เสวยราชย์ พระเจ้าเกล้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ย้ายจากวัดบวรนิเวศ เอาเข้าไปตั้งไว้ศาลารายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามข้างด้านเหนือ พระอุโบสถหลังที่สองนับแต่ทางตะวันตก อยู่ ณ ที่นี้ต่อมาช้านานจนปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2466 จึงได้ย้ายเอามารวมไว้ที่หอพระสมุด เรื่องหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ที่นักปราชญ์ชาวยุโรปแต่งไว้ในหนังสือต่างๆ นั้น มีอยู่ในบัญชีท้ายคำนำภาษาฝรั่งแล้ว ส่วนนักปราชญ์ไทยแต่ขึ้นนั้นได้เคยพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณเล่มที่ 6 หน้า 3574 ถึง 2577 ในหนังสือเรื่องเมืองสุโขทัย ในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง และในประชุมพงศาวดารภาคที่หนึ่ง เรื่องที่มีในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนี้ แบ่งออกได้เป็นสามตอน ตอนที่ 1 ตั้งแต่บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นเรื่องพ่อขุนรามคำแหงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ ใช้คำว่า “กู” เป็นพื้น ตอนที่ 2 ไม่ใช่คำว่า “กู” เลย ใช้ว่า “พ่อขุนรามคำแหง” เล่าเรื่องประพฤติเหตุต่างๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย เรื่องสร้างพระแท่นมนังคศิลา เมื่อ 1214 เมื่อสร้างพระมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาไลย เมื่อ ม.ศ. 1207 และที่สุดเรื่องประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.1205 ตอนที่ 3 ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดสุดท้าย เข้าใจว่าจารึกภายหลังปลายปี เพราะตัวอักษรไม่เหมือนกับตอนที่ 1 และที่ 2 คือ ตัวพยัญชนะสั้นกว่าที่สระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง ตอนนี้ (ที่ 3 ) เป็นคำสรรเสริญและขอพระเกียรติคุณพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัยที่แผ่ออกไปในครั้งกระโน้น ผู้แต่ศิลาจารึกนี้ เพื่อจะเป็นพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าเอง มิฉะนั้นก็คงตรัสสั่งให้แต่งและจารึกไว้ มูลเหตุที่จารึกไว้คือเมื่อ ม.ศ. 1214 (พ.ศ.1835) ได้สะกัดกระดานหินพระแท่นมนังคศิลา ประโยชน์ของพระแท่นมนังคศิลาก็คือ ในวันพระอุโบสถพระสงฆ์ได้ใช้นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรมถ้าไม่ใช้วัดอุโบสถพ่อขุนรามคำแหงก็ได้ประทับนั่งพระราชทานราโชวาทแก่ข้าราชบริพาร และประชาราษฎรทั้งปวงที่มาเฝ้า และเมื่อปี ม.ศ.1214 (พ.ศ.1835) นับเป็นปีที่สำคัญมากในรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง เพราะเป็นปีแรกที่ได้แต่งตั้งราชฑูตไปเมืองจีน ศิลาจารึกกรุงสุโขทัยที่มีอยู่ในหอสมุดนี้ เริ่มรวบรวมแต่ในรัชกาลที่ 3 มีจดหมายเหตุปรากฎว่า เมื่อ พ.ศ. 2176 พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ประทับอยู่ ณ วัดราชาธิราชเสด็จขึ้นไปธุดงค์ทางมณฑลฝ่ายเหนือถึงเมือพิษณุโลก สวรรคโลก และเมืองสุโขทัย เมื่อเสด็จไปถึงเมืองสุโขทัยครั้งนั้นทอดพระเนตรเห็นศิลาจารึก 2 หลักคือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง (หลักที่ 1 ) และศิลาจารึกภาษาเขมรของพระมหาธรรมราชาลิไทย (หลักที่ 4) กับแท่นมนังศิลาอยู่ที่เนินปราสาท ณ พระราชวังกรุงสุโขทัยเก่า ราษฎร เช่นสรวงบูชานับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสถามว่าของทั้งสามสิ่งนั้นเดิมอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้เอามารวบรวมไว้ตรงนั้น ก็หาได้ความไม่ ชาวสุโขทัยทราบทูลว่าแต่ว่าเห็นรวบรวมอยู่ตรงนั้นมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิจารณาดูเห็นว่าเป็นของสำคัญจะทิ้งไว้เป็นอันตรายเสีย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งมากรุงเทพฯเดิมเอาไว้ที่วัดราชาธิวาส ทั้งสามสิ่ง พระแท่นมนังคศิลานั้นก่อทำเป็นแท่นที่ประทับไว้ตรงใต้ต้นมะขามใหญ่ ข้างหน้าพระอุโบสถ ครั้นเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดฯ ให้ส่งหลักศิลาทั้งสองนั้นมาด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามอ่านหลักศิลาของพ่อขุนรามคำแหงเอง แล้วโปรดฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณะเจ้าพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พร้อมด้วยล่ามเขมรอ่านแปลหลักศิลาของพระธรรมราชาลิไทย ได้ความทราบเรื่องทั้งสองหลัก ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ เสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2394 ต่อมาจึงโปรด ฯ ให้ย้ายพระแท่นมนังคศิลามาก่อแท่นประดิษฐานไว้หน้าวิหารพระคันธารราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม... “ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2450 พระยาโบราณราชธานินทร (พร เดชะคุปต์) ได้พบศิลาจารึก (หลักที่ 5 ) ที่วัดใหม่ (ปราสาททอง) อำเภอนครหลวงแขวงจังหวัดอยุธยาหลักหนึ่ง แต่มีรอยถูกลบมีจนตัวอักษรลบเลือนโดยมาก แต่ยังมีเหลือพอทราบได้ว่าเป็นจารึกกรุงสุโขทัย สืบถามว่าใครได้มาแต่เมื่อใดก็หาได้ความไม่ พระยาโบราณฯ จึงได้ย้ายมารักษาไว้ในอยุธยาพิพิธภัณฑ์สถาน กรมพระยาดำรงราชนุภาพเสด็จขึ้นไปทอดพระเนตร ทรงพยายามอ่านหนังสือที่ยังเหลืออยู่ ได้ความว่าเป็นศิลาจารึก ของพระธรรมราชาลิไทย คู่กับหลักภาษาเขมรซึ่งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ จารึกความอย่างเดียวกัน เป็นภาษาเขมรหนึ่งหลัก ภาษาไทยหนึ่งหลัก เดิมคงตั้งคู่กันไว้ จึงรับสั่งให้ส่งหลักศิลาจารึกนั้นลงไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วยกันกับหลักภาษาเขมร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้มาจากเมืองสุโขทัยศิลาจารึก ทั้ง 3 หลักนั้นอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนย้ายมายังหอพระสมุด เมื่อ พ.ศ. 2467
อ้างอิง: ชนม์สวัสดิ์ ชมพูนุช.2514.พระราชประวัติ 9 มหาราช.กรุงเทพฯ: พิทยาคาร

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูป ณ มณฑลพิธี กองหัตถศิลป กรมศิลปากร วันจันทร์ที่ ๗ ธันวาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๓ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
เมื่อกรมศิลปากรได้ปั้นหล่อพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และภาพจำหลักนูนแสดงเหตุการณ์เรียบร้อยแล้ว จังหวัดสุโขทัยได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากกองหัตถศิลป กรมศิลปากร ไปยังปะรำประดิษฐานพระบรมรูปชั่วคราว เนินปราสาท เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๘ และได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากเนินปราสาท ไปประดิษฐานยังแท่นฐานปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๙
ด้วยพระเกียรติคุณ พระราชกรณียกิจที่ทรงสร้างไว้แก่ประเทศชาตินานัปการ มุ่งประโยชน์สุขของราษฎรเป็นสำคัญ การรวมประเทศ การแผ่ขยายอาณาเขต การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการประดิษฐ์คิดค้นอักษรไทย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติ ประชาชน

การทําอาหาร



เรื่องของไข่- วิธีดูว่าไข่ เน่าหรือไม่- เจียวไข่ให้หนานุ่ม- ต้มไข่ ให้ทานอร่อยและได้คุณค่า- ต้มไข่ ให้ไข่แดงอยู่ตรงกลาง- ต้มไข่ให้ปอกง่ายๆ- เจียวไข่ไม่ให้ด้าน- ผ่าไข่ต้มอย่างไรให้สวย- ต้มไข่ที่ร้าวไม่ให้แตก
เคล็ดลับการทำอาหารให้อร่อย- วิธีทำต้มยำกุ้งให้ถึงรสต้มยำ - เคล็ดลับ การหมักเนื้อเสต็ก ให้นุ่ม... อร่อย- ยำปลาหมึกให้ กรอบ อร่อย ไม่เหม็นคาว- น้ำซุปไก่หวานอร่อย- ข้าวกล้อง...หุงอย่างไรให้นุ่ม- (หมู) ต้องหมักก่อน ถึงจะอร่อย- หมูสับแกงจืด ทำอย่างไรให้นุ่มอร่อย
ต้ม : เคล็ดลับการต้ม การลวก - ต้มปลาไม่ให้คาว- ต้มไก่ตัวให้สวย หนังไม่ลอก - ต้มยำปลาอย่างไรไม่ให้คาว - ต้มข้าวต้มให้หอม..ม..ม..ม ชวนรับประทาน- ต้มผักให้สีเขียวสวยด้วยวิธีไหน- ลวกเส้นสปาเกตตี้ให้ทานอร่อย- เคล็ดลับ ลวกผักให้สีเขียวสดใส- ลวกผักให้เขียวสวยน่ารับประทาน
เคล็ดลับการแกง- เคล็ดลับ วิธีทำแกงเขียวหวานให้อร่อย - วิธีทำแกงส้มให้อร่อยเริด- เคล็ดลับแกงเลียงให้อร่อยได้หลายๆมื้อ
เคล็ดลับการทอด- วิธีทอดไก่ ให้กรอบนอก นุ่มใน- ปั้นทอดมัน ไม่ให้เหนียวติดมือ- เรื่องทอด ทอด 1 : ทอดปลาสด- เรื่องทอด ทอด 2 : ทอดปลาทู- เรื่องทอด ทอด 3 : ทอดปลาไม่ให้น้ำมันกระเด็น- ทอดปลาไม่ให้ติดกระทะ- เทคนิคทอดอาหารไม่ให้เลี่ยน- ทอดอาหารอย่างไรไม่ให้อมน้ำมัน- เบคอน-ทอดยังไงไม่ให้งอ
เคล็ดลับการตำ การยำ- อาหารประเภทยำ ทำยังไงให้อร่อย- พล่าแตกต่างจากยำอย่างไร- เคล็ดลับตำน้ำพริกกะปิให้อร่อยเลิศ- มะละกอสำหรับตำส้มตำ...- แสบร้อนที่มือเพราะพริกขี้หนู ทำไงดี???
เคล็ดลับการย่าง การเผา - เคล็ดลับวิธีเผามะเขือยาว- เคล็ดลับย่างปลา
เคล็ดลับ การเลือกซื้อ ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์- หลักการเลือกซื้อผลไม้ - วิธี เลือกซื้อหอย- การเลือกซื้อปูทะเล- การเลือกซื้อปลา- ดีดแล้วดม : เคล็ดไม่ลับซื้อสับปะรด- Shake Shake Shake ก่อนซื้อ มะพร้าวอ่อน- เต้าหู้ วิธีเลือกซื้อ รู้ได้อย่างไร ว่า ไม่ใส่สารกันบูด
การเก็บรักษาผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์- วิธีเก็บน้ำมะนาวไว้ใช้นาน ๆ- วิธีเก็บหอมหัวใหญ่ไว้ใช้ได้นาน ๆ - เคล็ดลับ เรื่องปลา ปลา 1: ล้างปลา เก็บปลา- เก็บใบแมงลัก ใบโหระพา ไว้ใช้ได้หลายๆวัน- ทำอย่างไรให้ผักที่แช่เย็นดูสดใหม่- เก็บกุ้งแห้งไว้ให้ทานได้นานๆ- การเก็บเนื้อหมู- ปอกแอปเปิ้ลไม่ให้ดำ
การเลือกใช้ส่วนต่างๆ ของเนื้อสัตว์- การเลือกใช้เนื้อไก่ให้เหมาะกับประเภทอาหาร- การเลือกใช้เนื้อหมูให้เหมาะกับประเภทอาหาร- เนื้อวัว เลือกใช้ให้เหมาะกับประเภทอาหาร- กุ้ง : คุณค่าทางโภชนาการ และลักษณะของกุ้งแต่ละประเภท
เคล็ดลับ ดับสารพัดกลิ่น- วิธีแก้กลิ่นคาวในน้ำมันทอดปลา- ล้างเซ่งจี๊หมูให้ไม่เหม็น- ล้างกระเพาะปลาไม่ให้เหลือกลิ่นน้ำมัน- ปราบกลิ่นสะตอด้วยมะเขือเปราะ- เคล็ดลับ ดับกลิ่นเครื่องใน- เคล็ดลับจัดการกับกลิ่นกระเทียม ที่เหม็นติดมือ- เทคนิคการล้างหอยให้สะอาด- กลิ่นปลาอบอวลภายในบ้าน จะจัดการอย่างไรดี- วิธีทำเนยแข็งๆ ให้อ่อนนุ่มลง
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ในครัว - ทำยังไง? ให้พริกขี้หนูที่ทุบไว้ไม่ดำ- เคี่ยวน้ำยา ไม่ต้องคอยเฝ้าคน และไม่ไหม้- อบเนื้ออย่างไมให้ติดกระทะ- ใบมะกรูด มหัศจรรย์กำจัดแมลงในข้าวสาร- Dinnerใต้แสงเทียน ให้โรแมนติก(ชนิดไร้ควัน)- ไร้รอยปะชุนด้วยไข่ขาว
เคล็ดลับ ช่วยงานทำความสะอาด - คราบเลือด รอยเปื้อนหมึก แก้ปัญหาอย่างไร- วิธีการง่ายๆ ของการลอกป้ายติดราคา- ขจัดคราบเปื้อนที่เตาไมโครเวฟ- ถุงมือพลาสติกใช้อย่างไรไม่ให้รำคาญ- ตะแกรงย่างอาหารล้างยาก ทำอย่างไรดี- มะนาวให้คุณมากกว่าความเปรี้ยว- เปลือกไข่ช่วยให้ผ้าขาว- ทำความสะอาดเล็บมือด้วยมะนาว

สิ่งแวดล้อม


เพราะพฤติกรรมของมนุษย์นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นใคร ทุกคนก็คือผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งสิ้น เช่น การทิ้งขยะลงบนท้องถนน การต่อท่อน้ำทิ้งในบ้านลงท่อระบายน้ำสาธารณะ โดยไม่ผ่านระบบบำบัด การทิ้งของเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง การใช้สารเคมีที่มีพิษในการเกษตรกรรมมากเกินไป การเผาและการตัดไม้ทำลายป่า การทำให้เกิดเสียงดังที่รบกวนและการทิ้งกากของเสียอันตรายสู่สถานที่สาธารณะ เป็นต้น






แต่ทุก ๆ คนคิดไม่ถึงว่าเป็นความผิดของ "ตนเอง" ในวันนี้ประชาชนทุกคน ภาครัฐ และเอกชน ควรมีความรู้สึกร่วมกันในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้คงอยู่อย่างยาวนานสืบไป
แล้วเราจะอยู่เฉยให้เป็นไปอย่างเดิมหรือ ?
1. ใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างที่ไม่มีสารที่ทำลายสภาพน้ำเจือปนอยู่ โดยใช้ผงซักฟอกที่ผสม ZEOLITE ที่มีในการดูแลรักษาน้ำ
2. การซักผ้าด้วยมือควรปิดก๊อกน้ำเมื่อน้ำเต็มภาชนะรองรับหรือซักเครื่อง
3. ควรรวบรวมผ้าให้พอดีกับความสามารถของเครื่องซักผ้าในแต่ละครั้ง เพราะต้องใช้น้ำประมาณ 100-200 ลิตรและจะช่วยประหยัดไฟฟ้าไม่ให้สิ้นเปลืองมากจนเกินไป
4. การใช้น้ำประปา ปิดก๊อกให้สนิทหลังการใช้ควรจัดหาภาชนะรองน้ำให้ได้ตามต้องการแล้วจึงนำไปใช้ ซึ่งจะง่ายและประหยัดกว่าการเปิดน้ำใช้จากก๊อกและสายยางโดยตรง
5. ตรวจและซ่อมแซม ท่อ/ก๊อกน้ำที่ชำรุดเพราะน้ำ 10 หยดใน 1 นาทีนั้นจะรวมกันได้ถึง 3,000 ลิตรในหนึ่งปี
6. การล้างจาน ชาม และภาชนะ ควรรวบรวมให้มีปริมาณมากพอแล้วจึงล้างพร้อมกันในอ่าง ไม่ควรล้างโดยตรงจากก๊อก
7. ควรอาบน้ำด้วยการตักจากภาชนะที่เก็บน้ำได้แทนการอาบจากฝักบัว ซึ่งต้องใช้น้ำครั้งละ 20 ลิตร/คน และไม่นอนแช่ในอ่างอาบน้ำ
8. แปรงฟันหรือโกนหนวดด้วยการใช้แก้ว หรือขันรองน้ำแทนการเปิดน้ำโดยตรงจากก๊อก ซึ่งทำให้เสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ถึง 9 ลิตรต่อนาที
9. การใช้ห้องสุขาด้วยการกดชักโครกเพียงครั้งเดียวจะทำให้เปลืองน้ำมากถึง 15-20 ลิตร จึงควรใช้ระบบขันตักราดหรือใช้อิฐมอญ 2-3 ก้อน หรือขวดพลาสติกใส่น้ำใส่ไว้ในชักโครกเพื่อแทนที่น้ำ
10. หากบ้านเรือนของท่านตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ควรสร้างส้วมให้ถูกสุขลักษณะ ไม่ทิ้งของเสียในน้ำเพราะจะเป็นที่มาของเชื้อโรค และทำให้น้ำเน่าเสีย ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ควรเก็บใส่ถังขยะแยกขยะเปียกจำพวกเศษอาหารและขยะแห้งจำพวกเศษกระดาษถุงพลาสติกออกจากกันโดยจัดหาภาชนะแยกขยะออกจากกันเพื่อความสะดวกต่อการเก็บขนขยะและการแยกกำจัด
11. ซ่อมแซมสิ่งของหรือเสื้อผ้าสมาชิกในบ้านเมื่อเกิดการชำรุดขึ้นมาแทนที่จะโยนทิ้งหรือไปซื้อใหม่ เพื่อช่วยประหยัดทรัพยากรที่นำมาเป็นวัตถุดิบ
ป้องกันอากาศร้อนในบ้านด้วยวิธีง่าย ๆ เป็นธรรมชาติ เช่น ปลูกต้นไม้บังแสงแดด ทำม่านกันแสงและสร้างหน้าต่างกันทิศทางลมเพื่อลดการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
§ ถ้าจะเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ ควรเลือกใช้หลอด ชนิดประหยัดไฟจะประหยัดได้ถึง 75-80% และอายุการใช้งานก็ยาวนานกว่าหลอดไส้ถึง 7 เท่า
§ ต้องหมั่นดูแลและทำความสะอาดหลอดไฟ ถ้าปล่อยให้ฝุ่นหนาฝ้าเกาะแสงก็จะสลัว เราก็จะต้องใช้ไฟมากหลอดเวลาจ่ายค่าไฟคงไม่สบายเท่าไหร่
§ โทรทัศน์ทั้งขนาดและระบบมีผลต่อการใช้ไฟ เช่น ระบบรีโมทคอน-โทรลจะเปลืองไฟตลอดเวลาแม้ในขณะที่ไม่ได้ใช้รีโมท

หากจะเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ควรเลือกซื้อรุ่นประหยัดพลังงานพร้อมควรเช็คสักนิดให้แน่ใจในประสิทธิภาพว่าเหมาะพอดีกับจำนวนคนและพื้นที่
ปรับอุณหภูมิให้พอดี ควรอยู่ที่ 25oC เพราะความเย็นที่เพิ่มขึ้นคือค่าไฟที่เพิ่มตาม
ไม่ควรทำอาหาร ต้มน้ำในห้องแอร์ เพราะเครื่องปรับอากาศจะต้องทำงานหนักขึ้น
ต้องขยันทำความสะอาดไส้กรองอากาศอาทิตย์ละครั้ง จะช่วยประหยัดไฟและให้ความเย็นเร็วขึ้น
§ ตู้เย็น 2 ประตูใช้คอมเพรสเซอร์ใหญ่กว่า เปลืองไฟกว่า ควรเลือกตู้เย็นที่มีขนาดพอเหมาะ ระวังไว้สักนิดว่าตู้เย็นที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ จะกินไฟเพิ่มกว่าธรรมดา
§ ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่มีฉนวนกันความร้อนหนาเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่า
§ ควรตั้งตู้เย็นห่างผนังอย่างน้อย 15 ซม. เพื่อช่วยระบายความร้อน หมั่นละลายน้ำแข็งอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรเปิดบ่อย ๆ หรือเปิดทิ้งไว้
§ นำของเข้าแช่ต้องมั่นใจว่าไม่เป็นของร้อน หรือใส่ของจนแน่นตู้เพราะตู้เย็นจะทำงานหนัก
ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อเลิกใช้
ประหยัดพลังงานในครัวด้วยการหุงต้มด้วยก๊าซจะดีกว่าการใช้เตาไฟฟ้าที่ใช้พลังงานถึงสามเท่าของก๊าซ
การรีดผ้าเป็นการใช้ไฟฟ้าที่สิ้นเปลืองมากจึงควรรีดครั้งละมาก ๆ เพราะในการที่เตารีดจะร้อนแต่ละครั้งนั้น ใช้พลังงานไฟฟ้ามากทีเดียว
เปิดโทรทัศน์ หรือวิทยุเฉพาะเวลาที่ต้องการดู
§ พยายามใช้ถุงหรือกล่องกระดาษ แทนที่จะใช้กล่องโฟมหรือถุงพลาสติก
§ ควรนำถุงผ้าหรือตะกร้าจ่ายตลาดติดตัวไปสำหรับใส่ของเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกและไม่ต้องหิ้วของพะรุงพะรัง
บ้านที่ร่มรื่นน่าอยู่เขียวขจีไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด คือความภูมิใจที่เราจะได้เป็นผู้ปลูกและดูแลอย่างดีด้วยตัวเราเอง ต้นไม้แต่ละชนิดต้องการการดูแลที่แตกต่างกันเราจึงควรที่จะศึกษานิสัยของต้นไม้แต่ละชนิดก่อนนำมาปลูก
พยายามจัดสวนให้เป็นธรรมชาติ ปลูกพืชพื้นเมือง ไม่ควรปลูกเฉพาะหญ้าเต็มทั้งสนามเพราะจะเปลืองน้ำมาก
ไม่เผาใบไม้แห้งหรือเศษขยะควรใช้วิธีขุดหลุมฝังเพื่อให้เกิดการย่อยสลาย โดยขบวนการทางธรรมชาติซึ่งเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้ดินอีกด้วย

การรดน้ำต้นไม้ที่ถูกวิธีและประหยัดน้ำ คือ
1. รดน้ำเฉพาะตรงโคนต้นแทนที่จะรดใบให้ชุ่มเพื่อให้น้ำไปถึงระดับรากได้
2. ควรรดน้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อยในตอนเช้าหรือตอนเย็นโดยปล่อยให้ใบแห้งก่อนค่ำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคในขณะที่ใบพืชชื้น แต่ในฤดูร้อนควรรดน้ำ 2 ครั้ง เช้า-เย็น การรดน้ำต้นไม้ในตอนกลางวัน จะสิ้นเปลืองน้ำมากเพราะน้ำจะระเหยไปกับไอแดดได้เร็วกว่า 4-8 เท่าตัว
ช่วงหน้าแล้งไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำไปกับหญ้าที่กำลังเหลือง เพราะเป็นช่วงที่ธรรมชาติต้องเป็นเช่นนั้นเมื่อถึงฤดูฝนหญ้าก็จะกลับเขียวขึ้นมาเองโดยไม่ต้องเปลืองน้ำ
3. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักบำรุงต้นไม้แทนการใช้ปุ๋ยเคมี
4. กำจัดวัชพืชในสนามหญ้าด้วยการขุดออกหรือถอนทิ้งแทนการใช้ยาปราบวัชพืช
ปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ในบ้านทดแทนความรู้สึกผูกพันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ต้นไม้แต่ละต้นให้ความร่มรื่น ใบไม้แต่ละใบช่วยป้องกันฝุ่นละออง ช่วยกรองเสียงดังจากภายนอกเป็นที่อยู่อาศัยของนกและสามารถปลูกเป็นรั้วบ้านช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้สวยงาม
§ ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วในการขับขี่ยานพาหนะ
§ ใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ที่ช่วยลดปัญหาอากาศเสีย
§ ไม่ปรับแต่งคาร์บูเรเตอร์ด้วยตนเอง นำรถเข้าเช็คโดยช่างผู้ชำนาญเมื่อครบรอบการใช้งานโดยสม่ำเสมอ เพราะการปรับแต่งเครื่องยนต์โดยไม่ถูกวิธีคือการเพิ่มสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม
ช่วยกันลดปัญหาเสียงดังรบกวนโดยการติดตั้งเครื่องดักเสียงและท่อพัก
ใช้วิธีเดิน ขี่จักรยาน หรือขึ้นรถประจำทางให้มากขึ้นแทนการใช้รถส่วนตัว
หมั่นดูแลรักษาสภาพรถเพราะรถที่อยู่ในสภาพดีนั้นกินน้ำมันน้อยและปล่อยสารพิษออกมาน้อย ตรวจสอบดูปริมาณการใช้น้ำมันต่อ กิโเมตรของรถอยู่เสมอ เมื่อลดต่ำลงผิดปกติ ควรนำรถตรวจซ่อมบำรุงรักษาหม้อกรองอากาศ ตรวจน้ำมันให้สะอาดอยู่เสมอ หากยางอ่อนตัวคุณจะต้องจ่ายค่าน้ำมันเพิ่มถึง 5% และเลือกใช้รถที่ประหยัดน้ำมันจะดีกว่า
อย่าสตาร์ทรถทิ้งไว้เฉย ๆ ขณะจอดคอย เพราะทำให้รถหนักและรถที่หนักย่อมทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่า
§ ก่อนออกจากบ้านควรวางแผนก่อนว่าจะไปที่ใดบ้างเพื่อจัดระยะทางอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เสียเวลาบนท้องถนนน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ และเป็นการช่วยลดมลพิษอีกด้วย
§ ลดการใช้รถยนต์หลายคัน นั่งรวมกันไปจะประหยัดกว่า
เราสามารถประหยัดทรัพยากรได้ในทุก ๆ ที่ ซึ่งจะทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมีพอใช้สำหรับเรา ลูกหลาน และทุก ๆ คนบนโลกไปอีกยาวนานพึงระลึกไว้เสมอว่าเราต้องโค่นต้นไม้ใหญ่ ๆ ถึง 15 ต้น เพื่อนำมาแปรรูปเป็นกระดาษ 1 ตัน ดังนั้นเอกสาร หนังสือ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ที่ผลิตด้วยกระดาษเมื่อไม่ต้องการอย่าทิ้ง ควรนำไปชั่งกิโลขายเพื่อแปรสภาพนำกลับมาใช้ใหม่
ใช้กระดาษให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น นำกระดาษด้านที่ว่างมาใช้ประโยชน์ และถ่ายเอกสารใช้ทั้งสองด้าน
§ ซองจดหมายใช้แล้ว นำกลับมาเวียนใช้อีกครั้ง สำหรับการติดต่อภายในสำนักงานฯ
§ เลือกใช้เครื่องถ่ายเอกสารรุ่นใหม่ ๆ ที่มีปุ่มประหยัดไฟ และเครื่องถ่ายเอกสารไม่ควรอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเพราะนอกจากเครื่องปรับอากาศจะทำงานหนัก แล้ว ฝุ่นหมึกที่ฟุ้งกระจายจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
§ เครื่องเป่ามือที่ใช้ในห้องน้ำถ้าไม่จำเป็นไม่ควรติดตั้ง
§ กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ควรเลือกใช้ที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิ
§ พยายามใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์
§ ปิดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้แล้ว
§ ส่งเสริมให้โรงเรียนจัดตั้งชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีสมาชิกร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน เพื่อรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมให้ทุกคนเกิดความตระหนักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
§ สนับสนุนการจัดมุมสิ่งแวดล้อมขึ้นในห้องสมุดโรงเรียนหรือที่ทำงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมพร้อมปลูกฝังและเป็นตัวอย่างอันดีแก่ลูกหลาน
§ การท่องเที่ยวโดยปราศจากการรักษาสภาพแวดล้อมทำให้ทรัพยากรธรรมชาติอันล้ำค่าทั้งบนบก และใต้ท้องทะเลต้องมีสภาพทรุดโทรมอย่างรุนแรง ถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมดูแลรักษาด้วยจิตสำนึกที่ว่า มรดกทางธรรมชาติอันงดงามเหล่านี้เป็นของเราทุกคนด้วยการ
§ ไม่ทิ้งถุงพลาสติก กล่องโฟม ขวดแก้ว เศษอาหารหรือขยะใด ๆ ในลำธารป่าเขาหรือทะเล
§ ไม่สลักชื่อหรือขีดเขียนใด ๆ บนผนังถ้ำ ก้อนหินในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
§ ไม่เก็บพันธุ์ไม้ หรือกระทำสิ่งใดที่เป็นการเคลื่อนย้ายหรือรบกวนระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ ขูดขีดต้นไม้ หรือเด็ดกิ่งไม้ระวังการทิ้งก้านไม้ขีดติดไฟก้นบุหรี่ในป่า และดับกองไฟที่ก่อไว้ให้สนิทเพื่อป้องกันการกันการเกิดไฟป่าที่จะทำลายพื้นที่ป่าไม้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความงดงามตามธรรมชาติ สัตว์ป่าและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินได้ ไม่สนับสนุนสินค้าใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำลายป่าและการทารุณสัตว์ป่า
……คุณทำได้…….

เทคนิการการคูณเลข




หลายคนคงกุมขมับ เมื่อพูดถึงตัวเลข ยิ่งถ้าต้องมานั่งคำนวณบวก-ลบ-คูณ-หาร คงต้องยกนิ้วขึ้นมาช่วยนับกันยกใหญ่ หรือวิ่งหาตัวช่วยอย่างเครื่องคิดเลขมากดคำนวณกันแน่นอน แต่ใครจะรู้ว่า.. มีเทคนิคง่ายๆ ที่ให้เพื่อนๆ "คิดในใจ" โดยไม่ต้องพึ่งนิ้ว จนแทบโยนเครื่องคิดเลขลงลิ้นชักไปได้เลย ตามเคล็ดลับของ "พ่อมดคณิตศาสตร์แห่งอเมริกา"ชาครีย์ เพชรพิเชษฐเชียร นิสิตปี 4 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยถึงการคิดเลขในใจที่ทำได้เร็วกว่าเครื่องคิดเลข จากเคล็ดลับใน หนังสือ "กดเครื่องคิดเลขทำไม ในเมื่อคิดในใจได้เร็วกว่า" ผลงานเขียนของ ดร.อาเธอร์ เบนจามิน (Arthur Benjamin) ซึ่งเขาได้ร่วมแปลกับ พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ ว่าผู้เขียนเทคนิคการคิดเลขได้ตั้งข้อสังเกต คนเรามักทำอะไรจาก ซ้ายไปขวา แต่เรากลับคิดเลขจากขวาไปซ้าย ผู้เขียนจึงเสนอวิธีคิดเลขจากซ้ายไปขวาบ้างลองมาดูตัวอย่างการบวกเลขแบบพ่อมดกันดีกว่า.. ว่าเค้าคำนวณกันยังไง ตัวอย่าง เทคนิคการบวกเลขให้ดู- ตัวอย่างการบวกเลข 2 หลัก เช่น.... 95+38 = ? วิธีคิดในใจคือ แยกตัวเลขเป็น 2 กลุ่มคือ (90+30) และ (5+8) แล้วนำมารวมกัน ได้ 133 - ตัวอย่างการบวกเลข 3 หลัก เช่น.... 763+854=? วิธีคิดในใจคือ 800+700 =1,500แล้วบวก 60+50 ได้ 1,600 แล้วนำไปบวกกับ 3+4 ที่เหลือได้คำตอบของโจทย์นี้เท่ากับ 1,617 ตัวอย่าง เทคนิคการลบเลข
ส่วนวิธีลบ ชาครีย์บอกว่า น่าจะเป็นวิธีที่คนทั่วไปไม่รู้ เพราะปกติเราจะตัวเลขตั้งแล้วลบแต่วิธีของ ดร.เบนจามินคือ เปลี่ยนจากตัวเลขลบเป็นบวก (complement)เช่น -23 มี complement เป็น 77- ตัวอย่างคือ 138-68 ให้เปลี่ยนเป็น (138+32) - 100 จะคิดได้ง่ายกว่าหรืออีกตัวอย่าง 857-192 = ? มีวิธีคิดง่ายๆ คือ เปลี่ยนเป็น 857-200 = 657แล้วบวกด้วย 8 ที่ลบเกินไป จะได้คำตอบ 665
ตัวอย่าง เทคนิคการคูณเลข
สำหรับวิธีคูณก็คิดจากซ้ายไปขวาเช่นกันอาทิ 13x14=? ให้แยกเป็น (13x10)+(13x4) = 130+52 = 182 หรือ 68x49 ให้คิดเป็น 68x50 = 3,400 แล้วลบ 68 ที่คูณเกินมาหรือ 84x21 = ? ให้คิดเป็น 84x20=1,680 แล้วบวกด้วย 84 ที่ยังคูณไม่ครบ
ตัวอย่าง เทคนิคการคูณเลข
มาถึงเลขยกกำลัง ชาครีย์ได้ยกตัวอย่างการยกกำลัง 2 โดยระบุว่า ให้ปัดตัวเลขเพื่อให้เหลือตัวคูณเพียง 1 หลักอาทิ 232 ซึ่งแยกได้เป็น 23x23 ให้ปัดตัวเลขขึ้น-ลงเป็น 26x20 = 520แล้วบวกเข้ากับจำนวนยกกำลังสองของค่าที่ปัดขึ้น-ลง ซึ่งในตัวอย่างนี้คือ 32จะได้คำตอบเป็น 529 อีกตัวอย่างคือ 782 ปัดได้เป็น (80x76) + 22 = 6,084
ตัวอย่าง เทคนิคการหารเลข
ส่วนการหารเลขยกกำลังนั้น ไม่แตกต่างจากที่วิธีคิดเดิมเท่าไหร่ เนื่องจากปกติเราหารจากซ้ายไปขวาอยู่แล้วชาครีย์กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า อานิสงส์จากการแปลหนังสือ ทำให้เขาได้เรียนรู้เทคนิคการคิดเลขในใจ ซึ่งวิธีที่ได้ประโยชน์มากคือการคำนวณเลขยกกำลัง ซึ่ง ดร.เบนจามินสอนวิธีคำนวณถึงเลข 5 หลัก แต่เขาทำได้ที่เลข 2-3 หลัก ซึ่งการคิดเลขในใจให้เร็วนั้นเขาบอกว่าต้องหมั่นฝึกฝนด้วย ซึ่งวิธีตามหนังสือที่เขาแปลนั้นช่วยได้สำหรับ ดร.เบนจามินนั้น จบการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ในระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ และปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วีย์ มัดด์ สหรัฐฯ ซึ่งนอกจากสอนหนังสือแล้ว ยังแสดงมายากลโดยนำเทคนิคทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการแสดงด้วย และได้รับยกย่องจากนิตยสารรีดเดอร์ ไดเจสต์ให้เป็น พ่อมดคณิตศาสตร์อันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา

บัญญัติ9ประการ


บัญญัติ 9 ประการเพื่อสุขภาพดี

ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต

เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมการกินของคนไทยให้ถูกต้องเพื่อการมีภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัยที่ดี ดังต่อไปนี้

1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว

2. กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ

3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม่เป็นประจำ

4. กินปลา กินเนื้อไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ

5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย

6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร

7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด

8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน

9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว

ในอาหารแต่ละชนิดจะประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ในปริมาณที่มากน้อยต่างกัน ไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่จะมีสารอาหารต่างๆ ครบในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกินอาหารหลายๆชนิดหรือให้ครบทั้ง 5 หมู่ และกินแต่ละหมู่ให้หลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบตามที่ร่างกายต้องการ

"น้ำหนักตัว" เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงภาวะสุขภาพของร่างกาย จึงควรชั่งน้ำหนักตัวอย่างน้อยเดือนละครั้งและนำมาประเมินดูว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่โดยใช้ดัชนีมวลกายเป็นเกณฑ์ ดังนี้

ดัชนีมวลกาย= น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ส่วนสูง2 (เมตร)

ค่าปกติอยู่ระหว่าง 18.5-14.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร

2. กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ

ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยที่ให้พลังงานและสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ควรกินเป็นประจำและอาจจะสลับกับอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ เผือก มัน ก็ได้

3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ

พืชผักและผลไม้ นอกจากจะให้วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ซึ่งช่วยให้การขับถ่ายดีแล้วยังมีสารแคโรทีนและวิตามินซี ซึ่งป้องกันการเกิดมะเร็งบางประเภทได้

4. กินปลา กินเนื้อไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ

ปลา เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดี ย่อยง่ายมีไขมันต่ำ หากกินปลาเป็นประจำจะช่วยลดไขมันในเลือดและในปลาทะเลทุกชนิดมีสารไอโอดีนที่ช่วยป้องกันการเป็นคอพอก รวมทั้งหากกินปลาเล็กปลาน้อยจะได้แคลเซียม ซึ่งทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง

เนื้อสัตว์ทุกชนิดมีโปรตีน แต่ควรกินชนิดไม่ติดมันเพื่อลดการสะสมไขมันในร่างกายและโลหิต

ไข่ เป็นอาหารโปรตีนราคาถูก มีแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นเด็กกินได้ทุกวัน แต่ผู้ใหญ่ควรกินไม่เกินสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง

ถั่วเมล็ดแห้ง และผลิตภัณฑ์ เป็นโปรตีนที่ดี ราคาถูกควรกินสลับกับเนื้อสัตว์เป็นประจำ

5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย

นม เป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กและผู้ใหญ่มีโปรตีน วิตามินบี2 และแคลเซียม ซึ่งช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ควรดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว แต่สำหรับคนอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนยแทน

6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร

ไขมัน ให้พลังงานและความอบอุ่นกับร่างกาย ทั้งช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี เค แต่ไม่ควรกินมากเกินไปจะทำให้อ้วน และเกิดโรคอื่นๆตามมา จึงควรกินแต่พอควร แต่ไม่ควรงดอย่างเด็ดขาด การประกอบอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ย่าง อบ จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้

7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด

การกินอาหารรสจัดมากจนเป็นนิสัยจะเกิดโทษต่อร่างกายอาหารรสหวานจัดทำให้ได้รับพลังงานเพิ่มทำให้อ้วน รสเค็มจัดเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยกินผัก ผลไม้ และชอบกินอาหารรสเค็มจัด จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารด้วย

8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน

อาหารปนเปื้อนจะเกิดจากเชื้อโรค พยาธิต่างๆ สารเคมีที่เป็นพิษหรือโลหะหนักที่เป็นอันตราย จะเป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษ และเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นจึงควรเลือกกินอาหารที่สด สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ มีการปกปิดป้องกันแมลงวัน หรือบรรจุในภาชนะที่สะอาด และที่สำคัญคือ ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารทุกครั้ง

9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำเป็นโทษต่อร่างกายทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็ง แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ มะเร็งหลอดอาหาร และโรคความดันโลหิตสูง

การจะมีโภชนาการดี สุขภาพดี และคุณภาพชีวิตดี ต้องคำนึงถึงหลักใหญ่ ดังนี้

1. กินอาหารและปฏิบัติตามโภชนบัญญัติ 9 ประการ

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

3. ผ่อนคลายจิตใจ

4. หลีกเลี่ยงสิ่งซึ่งเป็นพิษภัย เช่น บุหรี่ เหล้า และสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ

รัฐธรรมนูญ


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย[1]
_______________
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการประกาศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม
เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน
จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป
ขอปวงชนชาวไทยจงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์ พิพัฒนชัยมงคล อเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพร แก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ

วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
หมวด ๑ บททั่วไป (มาตรา ๑ - ๗)
หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ (มาตรา ๘ - ๒๕)
หมวด ๓ สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา ๒๖ - ๖๙)
หมวด ๔ หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา ๗๐ - ๗๔)
หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา ๗๕ - ๘๗)
หมวด ๖ รัฐสภา (มาตรา ๘๘ - ๑๖๒)
หมวด ๗ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา ๑๖๓ - ๑๖๕)
หมวด ๘ การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา ๑๖๖ - ๑๗๐)
หมวด ๙ คณะรัฐมนตรี (มาตรา ๑๗๑ - ๑๙๖)
หมวด ๑๐ ศาล (มาตรา ๑๙๗ - ๒๒๘)
หมวด ๑๑ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๒๙ - ๒๕๘)
หมวด ๑๒ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา ๒๕๙ - ๒๗๘)
หมวด ๑๓ จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา ๒๗๙ - ๒๘๐)
หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๒๘๑ - ๒๙๐)
หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๙๑)
บทเฉพาะกาล (มาตรา ๒๙๒ - ๓๐๙)
(ดูรวมทุกหมวดในหน้าเดียว)
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
มีชัย ฤชุพันธุ์
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
[แก้ไข] เชิงอรรถ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔๗ ก/หน้า ๑/๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐

งานนี้ไม่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามความใน มาตรา ๗ แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ เนื่องจากบางส่วนหรือทุกส่วนของงานนี้เป็น
(๑) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(๒) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(๓) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(๔) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(๕) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (๑) ถึง (๔) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
รับข้อมูลจาก "http://th.wikisource.org
หมวดหมู่: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎระเบียบที่เริ่มบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2550 กฎระเบียบที่ยังบังคับใช้อยู่